ในการเสริมสร้างความรู้ให้กับนักศึกษาเพื่อให้สามารถสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ผ่านทั้ง 8 รายวิชาในครั้งแรก ควรเริ่มตั้งแต่เมื่อใด และมีแนวทางในการดำเนินการอย่างไร

Categories: Uncategorized

11 Comments

Benjawan Buddiangkul · พฤศจิกายน 27, 2018 at 5:05 pm

อาจารย์ควรกระตุ้นนักศึกษา โดยหาแนวทางเสริมแรงทางบวกสนับสนุนให้นักศึกษาเตรียมความพร้อม ในการสอบตั้งแต่ต้นปีการศึกษาและให้นักศึกษาฝึกทำข้อสอบในระบบLMS ตลอดทั้งปี

wilaiwan treetin · พฤศจิกายน 28, 2018 at 10:33 am

– ควรเริ่มตั้งแต่ปี2 เมื่อเริ่มเรียนวิชาชีพพยาบาล
– มีคำถามจากวิชาการพยาบาลที่สอน แล้วให้นศ.หาคำตอบโดยการทำ working group กำหนดวันส่งคำตอบ และอาจารย์เฉลยแนวการตอบซึ่งอาจทำได้หลายวิธี เช่น โดยการpostคำตอบ หรือพบนศ.เพื่อเฉลย

treetin · พฤศจิกายน 28, 2018 at 11:06 am

– เมื่อเริ่มเรียนวิชาชีพพยาบาล คือปี2
– อาจารย์ผู้สอน ตั้งคำถาม ซึ่งทำได้ทั้งก่อนและหลังการสอน ให้นศ.หาคำตอบโดยทำ helping group ส่งคำตอบอาจารย์ตามกำหนด และอาจารย์เฉลยซึ่งทำได้หลายวิธีเช่น post คำตอบ พบนศ.เพื่อเฉลย
– สำหรับนศ.ที่สอบตกวิชาการพยาบาล ต้องจัดติวโดยเฉพาะและทำงานเสริมความรู้จนสอบผ่่าน
– เรียนจบแต่ละปีการศึกษา ควรมีการจัดการติวรวบยอดเพื่อพร้อมสอบได้ในวิชาที่เรียนกับการสอบสภาฯ และควรมีการสอบภายหลังติวด้วยถ้าทำได้
-ทำทุกปีการศึกษา และจัดติวรวบยอดเมื่อจบปี4 เพื่อพร้อมสอบสภาฯ จริง

Aroonrat Rodchua · ธันวาคม 8, 2018 at 3:48 pm

การเสริมสร้างความรู้ให้นศ.เพื่อสอบผ่าน 8 วิชาครั้งแรกในการสอบใบประกอบวิชาชีพควรเริ่มตั้งแต่นศ.ปีที่ ๑ ที่เรียนพยาบาล หรือในวันแรกที่เริ่มเรียน อุปมาคล้ายกับผู้ป่วยที่มานอนรพ.จะเตรียมจำหน่ายกลับบ้านเมื่อไร ก็ต้องวันแรกที่พยาบาลต้อง Assess และให้ Health education ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการดังนี้ 1) ให้นศ.มีหรือตั้งเป้าหมายที่จบไปเป็นพยาบาลที่มีคุณภาพ นศ.ต้องขยันเรียน ขยันฝึกฝนทำข้อสอบ มีคะแนนสอบได้ A หรือ B ในแต่ละรายวิชา และสอบประเมินผลสัมฤทธิ์ให้ผ่านครั้งแรก 2) หาความรู้ก็ต้องคู่คุณธรรม ฝึกฝนนศ.ให้มี ความซื่อสัตย์ ความขยัน ความตรงต่อเวลาและความอ่อนน้อมถ่อมตน หรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของม.คริสเตียน 3) การอยู่ในทีมสุขภาพต้องเป็น Model ทีดี ร่างกายนศ.ต้องแข็งแรง เน้นการออกกำลังกาย การรับประทานถูกต้องและการพักผ่อนเพียงพอและ 4) ครูควรติดตามนศ.ที่เรียนอ่อนและต้อง โอเคกันเพื่อช่วยนศ.มีความรู้ในทฤษฎีและการปฏิบัติค่ะ

Asst.Prof. Dr. Sakul Changmai · กรกฎาคม 20, 2019 at 9:53 am

การส่งเสริมความรู้เพื่อเตรียมตัวสอบใบประกอบวิชาชีพของนักศึกษาในปีการศึกษา 2561 ที่คณะได้จัดให้กับนักศึกษาคือการจัดทบทวนความรู้แบบรวบยอดให้เป็นเวลาประมาณ เกือบหนึ่งเดือน โดยมีการทำ pretest และ posttest และมีการเชิญอาจารย์จากภายนอกสถาบันที่เป็นที่ยอมรับมาร่วมทบทวนความรู้ให้กับนักศึกษาด้วยซึ่งผลตอบรับจากนักศึกษาดีมาก….เดี๋ยวจะสรุปสิ่งที่นักศึกษาให้ข้อมูลกับคณบดีและรองคณบดี จากการทำสนทนากลุ่ม (Focus group) ให้ทราบนะคะ….

Asst.Prof. Dr. Sakul Changmai · ตุลาคม 6, 2020 at 5:21 pm

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ….ในฐานะคณบดี คิดว่าควรมีการเตรียม นศ.เป็น ช่วงๆ ไม่ควรทบทวนความรู้ในช่วงก่อนสำเร็จการศึกษาเท่านั้น และตามที่ รองคณบดี อัจฉรา ได้หารือ ไว้… ว่าจะแบ่งกลุ่ม นศ.ในการทบทวนความรู้นั้น เห็นด้วยอย่างมาก เพราะ นศ.เป็นกลุ่มเล็ก และทบทวนให้ตามที่แบ่งกลุ่มการฝึกปฏิบัติ จะช่วยได้มาก เพราะ นศ.บูรณาการความรู้กับการปฏิบัติ จะยิ่งทำให้ชัดเจนในความรู้นั้นมากขึ้น

สุปราณี แตงวงษ์ · ตุลาคม 6, 2020 at 5:25 pm

หากนักศึกษาได้รับการทบทวนสาระวิชาเป็นกลุ่มย่อยจะเกิดการเรียนรู้มากกว่ากลุ่มใหญ่

กฤษนารี แย้มเพ็ง · ตุลาคม 6, 2020 at 5:31 pm

ควรเริ่มตั้งแต่ก้าวแรกในวิชาชีพพยาบาล โดยการตั้งเป้าหมายของการเรียนตามระยะเวลาที่กำหนด

Kritsanari Yampeng · ตุลาคม 6, 2020 at 6:18 pm

ควรเริ่มตั้งแต่การเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย โดยการตั้งเป้าหมาย ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยความเข้าใจเพื่อนำไปปฎิบัติหรือประยุกต์ใช้ในการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูผู้รับบริการ ครอบครัวและชุมชน และเมื่อในวันสอบเพื่อขึ้นทะเบียนนักศึกษาก็จะสามารถทำข้อสอบได้อย่างถูกต้องและมั่นใจ

Sakul Changmai · ตุลาคม 6, 2020 at 9:32 pm

ควรมีการจัดทบทวนความรู้ให้ นศ.เป็นกลุ่มย่อยๆ อาจทำตามระบบการขึ้นฝึกปฏิบัติตาม section ที่ นศ.เรียน
อ.อัจฉรา รองคณบดีเคยนำเสนอและได้ดำเนินการในปีการศึกษา 2562
นอกจากนั้น การสอบประเมินผลสัมฤทธิ์ ในระบบ DLMS ก็สามารถช่วย นศ.ในการทบทวนความร้ได้ เพราะ
นศ.มีโอกาสสอบถึง 4 ครั้ง

Sakul Changmai · ตุลาคม 6, 2020 at 9:33 pm

จริงๆข้อเสนอแนะนี้เคยส่งเข้ามาในชุมชนนี้หลายเรื่อง แต่ทำไมข้อเสนอแนะเพื่อแลกเปลี่ยนหายไปหมด
ต้องมาเริ่มต้นใหม่

ส่งความเห็นที่ Asst.Prof. Dr. Sakul Changmai ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *