ความเป็นปฏิฐานนิยมในทฤษฎีองค์การ

ความเป็นปฏิฐานนิยมในทฤษฎีองค์การ

(Organization theory as positive science)

จากการสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติ นักปราชญ์ในยุคโบราณพยายามอธิบายความเชื่อมโยงของสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์นั้น และสรุปเป็นเหตุและผล เป็นความจริงที่สามารถอธิบายได้ทั่วไป หลักการดังกล่าวมีอิทธิพลต่อความคิดของนักสังคมศาสตร์ (Social scientists) ในยุคต่อม ที่ได้ตั้งสมมุติฐานว่าศาสตร์เป็นความรู้ที่ประกอบด้วยคำอธิบายได้ทั่วไป (Science is a body of knowledge that consists of general explanations) (Toulmin, 1962) และกระทำโดยการศึกษาปรากฏการณ์อย่างเป็นระบบ สร้างทฤษฎีและตรวจสอบทฤษฎีด้วยด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chalmers, 1999) เท่ากับว่าแนวคิดปฏิฐานนิยม (positivism) ได้โยกย้ายถ่ายเทมุมมองมองเชิงวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาสู่การศึกษาสังคมและสร้างสรรค์เป็นสังคมศาสตร์ (Donaldson, L., 2003))

ปฏิฐานนิยมในการศึกษาองค์การก็เช่นกันที่พยายามหาคำอธิบายที่เป็นสากล และอธิบายปรากฏการในลักษณะเหตุที่เป็นตัวกำหนดผล โดยอธิบายในรูปของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรเหตุ (Independent  variable) สัญลักษณ์ X กับตัวแปรตามหรือตัวแปรผล (Dependent variable) สัญลักษณ์ Y อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่าง X กับ Y ก็ไม่ใช่เป็นความสัมพันธ์แบบง่ายๆ แต่อาจมีความสลับซับซ้อน เช่น มี  X หลายตัวที่ทำให้เกิด Y หรือ X จะมีผลต่อ Y ผ่านตัวแปรตัวอื่น เป็นต้น

วิทยาศาสตร์องค์การต้องการที่จะอธิบายว่าโลกขององค์การทำงานจริงๆอย่างไร เป็นการอธิบายโลกด้วยปัจจัยภายนอก ไม่ใช่จากการตัดสินด้วยค่านิยม (Value-free) นักทฤษฎีสังคมเชิงปฏิฐานนิยมอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ด้วยสาเหตุที่อยู่บนสถานการณ์และข้อจำกัดที่ทำให้ต้องกระทำนั่นคือเป็นไปตามแรงกดดันของสิ่งแวดล้อม ในทฤษฎีองค์การ ปฏิฐานนิยมอธิบายแง่มุมขององค์การหรือสมาชิกในองค์การด้วยสถานการณ์แวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์ (Structural contingency theory) ที่เสนอว่าสิ่งแวดล้อม (E) เป็นสาเหตุของตัวแปรตามสถานการณ์ (C) ซึ่งในทางกลับกันเป็นเหตุให้องค์การต้องรับโครงสร้างเฉพาะสถานการณ์มาใช้ ดังนั้นระดับของความไม่แน่นอนของสิ่งแวดล้อมจะมีผลต่อความไม่แน่นอนของงานซึ่งทำให้องค์การต้องปรับเปลี่ยนระดับของการแยกแยะและการบูรณาการของโครงสร้างองค์การ หากไม่สามารถดำเนินการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมก็จะทำให้การทำหน้าที่ขององค์การลดลง ผลักดันให้องค์การและผู้บริหารองค์การต้องปรับตัว

อีกตัวอย่างหนึ่งคือทฤษฎีความแตกต่างทางโครงสร้าง ที่เสนอว่ายิ่งองค์การมีขนาดใหญ่มากขึ้น    การเพิ่มขี้นของหน่วยย่อยในองค์การจะมีมากขึ้น Blau and Schoenherr (1971) ได้เสนอหลักฐานที่นำมาสนับสนุนทฤษฎีนี้ด้วยการวัดตัวแปรหลายตัวและเปรียบเทียบระหว่างองค์การโดยใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติตัวแปรพหุ และมีการศึกษาในองค์การชนิดต่างๆและประเทศต่างๆ  ตามมาอีกมากมาย เช่นการศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างขนาดขององค์การกับความแตกต่างทางโครงสร้างแนวตั้ง ทั้งในองการของรัฐ ประกันภัย อุตสาหกรรม และในสหภาพแรงงาน เป็นต้น

ในกลุ่มปฏิฐานนิยม บางคนไม่ยึดติดกับ Logical Positivism กล่าวคือ Logical Positivism เป็นหลักการที่ว่าความเป็นวิทยาศาสตร์จะต้องสังเกตได้ ข้อเสนอใดๆที่ไม่สามารถสังเกตได้เป็นสิ่งที่ไร้สาระ แต่ Poper (1991) นักปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อ ปฏิฐานนิยมได้ปฏิเสธหลักการดังกล่าว โดยได้โต้แย้งว่ามโนทัศน์ (Concept) ที่ไม่สามารถสังเกตได้ เช่น มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอะตอม เป็นสิ่งที่มีความหมาย การลดทอน มโนทัศน์เป็นสมมุติฐานที่สามารถสังเกตได้ ก็สามารถนำไปสู่การทดสอบได้เช่นเดียวกัน เช่น ภาวะผู้นำ เป็นภาวะสันนิษฐานที่ไม่สามารถสังเกตได้ แต่สามารถเปลี่ยน มโนทัศน์ให้เป็นนิยามปฏิบัติการที่บอกคุณสมบัติ (Attributes) ก็สามารถทดสอบด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical evidence) ได้ เป็นต้น จากมุมมองวิทยาศาสตร์ในลักษณะของ Hypothetico-deductive activity จึงเป็นการแสวงหาความรู้ความจริง (Epistemology) ที่เป็นธรรมดาของนักปฏิฐานนิยมร่วมสมัย

เอกสารอ้างอิง

Blau, P.M. and Schoenherr, P.A. (1971). The Structure of Organizations. New York: Basic Book.

Chalmers, A.F. (1999). What is this thing called Science? An Assessment of the Nature and Status of Science and its methods. (3th edition). St Lucia: University of Queensland Press.

Donaldson, L., (2003). ‘Organization Theory as a Positive Science’ In H. Tsoukas and C. Knudsen. (eds.) The Oxford Handbook of Organization Theory. Oxford: Oxford University Press.

Poper, K.R. (1959). The Logic of Scientific Discovery. New York: Harper & Row.

Toulmin, S.E. (1962). The Philosophy of Science. London: Arrow

 

 

ปฏิฐานนิยม (Positivism)

เคยมีนักศึกษาถามว่า ถ้าทำวิจัยเรื่องหนึ่ง ใช้ประชากรทั้งหมดในโรงพยาบาลตอบแบบสอบถาม ผลที่ได้จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องใช้สถิติอนุมานในการทดสอบสมมุติฐาน ทีแรกก็งงเหมือนกัน เพราะสถิติอนุมาน เช่น t-test, F-test, ANOVA, Chi-square, Pearson’s Correlation ฯลฯ ล้วนแต่เป็นสถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐานเพื่ออ้างอิงจากกลุ่มตัวอย่างไปสู่ประชากรทั้งสิ้น ดังนั้นถ้าเก็บข้อมูลจากประชากรก็ไม่จำเป็นต้องทดสอบสมมุติฐานเพื่ออ้างอิงไปสู่ประชากรแต่อย่างใด

แต่เมื่อพิจารณาตามหลักปรัชญาเบื้องหลังของการทำวิจัย ก็ได้คำตอบว่า

  1. หากผลการวิจัยเป็นเพียงการพรรณนาปรากฏการณ์ในโรงพยาบาลนั้น ก็ไม่จำเป็นต้องใช้สถิติอนุมานใดๆ
  2. แต่ถ้าจะนำข้อค้นพบจากการวิจัยไปใช้อธิบายปรากฏการณ์เดียวกันในโรงพยาบาลอื่น ก็จำเป็นต้องใช้สถิติอนุมานเพื่อทดสอบสถิติ ด้วยเหตุผลดังนี้

2.1 การทำวิจัยเชิงปริมาณ เป็นวิธีการค้นหาความจริงตามหลักปรัชญาปฏิฐานนิยม (Positivism) ที่เห็นว่าการวิจัยทางสังคมศาสตร์เป็นวิธีการที่ถูกจัดระเบียบเพื่อรวมตรรกะเชิงนินัย (Deductive logic) กับการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อค้นหาและยืนยันกฎเกณฑ์เชิงสาเหตุที่เป็นไปได้(Probabilistic causal law) ที่สามารถนำไปใช้ในการทำนายแบบแผนทั่วไปของพฤติกรรมมนุษย์ วัตถุประสงค์ของการวิจัยจึงเป็นการค้นหากฎสากล (Universal law) ของพฤติกรรมมนุษย์

2.2 เมื่อยึดหลักปรัชญาปฏิฐานนิยม ประชากรทั้งโรงพยาบาลแห่งนั้นก็เป็นเพียงกลุ่มตัวอย่างของโรงพยาบาลในลักษณะเดียวกันทั้งหมด ดังนั้นถ้าจะนำข้อค้นพบที่ได้ไปอธิบายในโรงพยาบาลอื่น จึงต้องตรวจสอบว่าเป็นไปตามทฤษฎีหรือไม่ (ซึ่ง assume ว่าเป็นความจริงหรือกฎเกณฑ์ที่เป็นสากล) ดังนั้นจึงต้องใช้สถิติอนุมานในการทดสอบสมมุติฐานเพื่ออ้างอิงไปยังกลุ่มประชากรดังกล่าว

2.3 การปฏิเสธสมมุติฐาน ไม่ได้หมายถึงว่าไม่มีกฎสากลของพฤติกรรมมนุษย์ แต่เป็นความรู้ใหม่ที่ไม่มีวันจบสิ้น ยิ่งค้นหาความรู้ใหม่มากขึ้นก็จะยิ่งพบความรู้ที่สลับซับซ้อนมากขึ้น นั่นหมายความว่ายังมีความจริงอีกมากที่รอการค้นหา

รศ.ดร.สุรีย์  กาญจนวงศ์

                     แผนการดำเนินงานชองชุมชนการปฏิบัติ ของสำนักบัณฑิตศึกษา

กิจกรรม การดำเนินกิจกรรม เป้าหมาย ตัวบ่งชี้ ระยะเวลา
1. วิธีการค้นหาความรู้ สำนักบัณฑิตศึกษาร่วมกับคณาจารย์ในระดับบัณฑิตศึกษาสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการในระดับชาติและนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ได้แนวทางในการทำวิจัย การเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติและการหาแหล่งทุนสนับสนุนการจัดทำวิจัย จำแนกแนวทาง/ ความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัย การเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการใน

วารสารวิชาการระดับชาติ

และนานาชาติและการหา

แหล่งทุนสนับสนุนการจัดทำวิจัยได้อย่างน้อย 2 ประเด็น

3 สัปดาห์ นับจากวันขอจัดตั้ง CoP
2. วิธีการสร้างและแสวงหาความรู้

 

สำนักบัณฑิตศึกษาร่วมกับคณาจารย์ในระดับบัณฑิตศึกษาสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการเผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับชาติในฐาน TCI 1 และระดับนานาชาติที่มีมาตรฐานได้แก่ ฐานข้อมูล SCOPUS สรุปแนวทางการได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัย การเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ และการหาแหล่งทุนสนับสนุนการทำวิจัย

 

กำหนดแนวทางในการสร้างความรู้อย่างน้อย 1 แนวทาง 5 สัปดาห์ นับจากวันขอจัดตั้ง CoP
3. วิธีการจัดความรู้ให้เป็นระบบ

 

สมาชิก มีการกำหนดรูปแบบตามความรู้ที่มีและแบ่งความรับผิดชอบจัดระบบความรู้เป็นเรื่องๆ โดยจำแนกเป็น 4 กลุ่มได้แก่

1) การหาแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย

2) การสร้างนวัตกรรมการวิจัย

3) การเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ ในวารสารวิชาการระดับชาติ

4) การเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ

จำแนกระบบความรู้ของการทำวิจัยการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความ

วิชาการในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ และการหาแหล่งทุนสนับสนุนการจัดทำวิจัยเป็นหมวดหมู่

มีกลุ่มของความรู้ที่ได้รับการจัดจัดหมวดหมู่อย่างน้อย 2 กลุ่ม 7 สัปดาห์นับจากวันขอจัดตั้ง CoP
4. วิธีการประมวลและกลั่นกรองความรู้ สำนักบัณฑิตศึกษาปรึกษาอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการทำวิจัยและการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ได้แก่

1.หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

1.1 ประธานหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล

1.2 ประธานหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์กรภาครัฐและเอกชน

2. หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

2.1 ประธาน หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่

2.1 ประธาน หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน

2.3 ประธาน หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล

มีความรู้ที่เชื่อถือได้ มีความรู้ที่สามารถอ้างอิงและเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 ประเด็น 9 สัปดาห์นับจากวันขอจัดตั้ง CoP
5. วิธีการเข้าถึงความรู้ นำลงใน web blog ของ CoP สำนักบัณฑิตศึกษา

 

มี web blog ของ CoP ที่เสนอความรู้ที่เชื่อถือได้ มี web blog ของ CoP ที่เสนอความรู้ที่เชื่อถือได้อย่างน้อย 2 ประเด็น

 

10 สัปดาห์นับจากวันขอจัดตั้ง CoP
6. วิธีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำลงใน web blog ของ CoP สำนักบัณฑิตศึกษา สมาชิกมีการสนทนาผ่าน web blog อย่างต่อเนื่อง มีสมาชิกที่สนทนาผ่าน web blog อย่างน้อย 2 ราย 10 สัปดาห์นับจากวันขอจัดตั้ง CoP
7. องค์ความรู้จากการเรียนรู้ และ

การนำไปใช้

สรุปความรู้ของ CoP สำนักบัณฑิตศึกษา มีการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการปฏิบัติจริงและเป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการในวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ มีสมาชิกนำความรู้ที่ได้ไปใช้ อย่างน้อย 2 ราย 10 สัปดาห์นับจากวันขอจัดตั้ง CoP