Hello world!

Welcome to WordPress. This is your first post. Edit or delete it, then start writing!

การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

              ครู สามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีส่วนร่วมและทำงานได้ผล ผู้เรียนจะรู้สึกมีความสุข สนุกกับการเรียน และประสบความสำเร็จอันจะทำให้ห้องเรียนเต็มไปด้วยพลังและกำลังใจ  เป็นห้องเรียนที่ผู้เรียนตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง  เคารพซึ่งกันและกันและมีเหตุผล  จึงเป็นห้องเรียนที่สร้างบรรยากาศที่นำไปสู่การเรียนรู้ได้มากขึ้น อรุณรัตน์  คำพีพงษ์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ทางด้านการจัดการเรียนรู้ได้มอง เห็นและตระหนักถึงประโยชน์ของการสร้างแรงจูงใจให้กับ ผู้เรียนไม่ว่าจะอยู่ในยุคใด พ.ศ.ใด การศึกษาจะปฏิรูปไปแล้วกี่ครั้งก็ตามที   หากแต่ว่าการสร้างบรรยากาศต่างๆ ให้กับผู้เรียนเป็นความสามารถของครูเป็นวิธีการของครูแต่ละท่าน

ทั้งนี้ ขอยกองค์ประกอบ 5 ประการ ที่เรียกว่า DESCA ของ Merrill Harmin เป็นผู้เขียน โดยมี รองศาสตราจารย์เตือนใจ ตันงามตรง เป็นผู้แปล จากสถาบันการแปลหนังสือกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ,2546.  ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการอยากมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

องค์ประกอบ 5 ประการ ที่เรียกว่า DESCA ของ Merrill Harmin

ประการที่ 1 ความภาคภูมิ (Dignity) ผู้เรียนมีลักษณะเชื่อมั่นและพร้อมที่จะเรียน มีความภูมิใจในความสามารถของตนเอง มีความเคารพในตนเอง ผู้เรียนมีความมั่นคงและสบายใจ ไม่เก็บความกังวลต่างๆ มาในห้องเรียนด้วย

ประการที่ 2 พลัง (Energy) ผู้เรียนจะมีงานทำอยู่เสมอ เป็นงานที่มีส่วนร่วม ในห้องเรียนจะมีเสียงการทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ผู้เรียนไม่กระวนกระวายหรือเครียดเหมือนถูกบังคับให้เรียน

ประการที่ 3 การจัดการตนเอง (Self – Management) ผู้เรียนบริหารจัดการตนเองกระตุ้นตนเองและรับผิดชอบตนเอง ผู้เรียนไม่ต้องรับคำสั่งจากครูที่เป็นรายละเอียดมากมายนัก เขาจะรับผิดชอบและแก้ไขงานของเขาเองเมื่อคิดว่าตนทำได้

ประการที่ 4 ความเป็นชุมชน (Community) ผู้เรียนมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูกับผู้บริหาร ผู้เรียนพร้อมที่จะรับฟังซึ่งกันและกันและยอมรับผู้อื่น ในเวลาเดียวกันผู้อื่นก็ยอมรับเขาเช่นเดียวกัน เขาจะไม่ล้อเลียนหรือดูหมิ่นเพื่อน ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวหรือถูกตัดขาดจากผู้อื่น

ประการที่ 5 การมีสติรับรู้ (Awareness) ผู้เรียนเป็นคนช่างคิดและตื่นตัวและรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นในห้องเรียน

       ขอเชิญชวนสมาชิกทุกท่านร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เล่าประสบการณ์เล็กๆ ที่นำมาซึ่งการสร้างบรรยากาศเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียน อย่างมีส่วนร่วมนะคะ

 

Ref. http://www.gotoknow.org/

เทคนิคที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนขนาดใหญ่

หนึ่งในทฤษฎีการสอนวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม คือเทคนิค 5E ซึ่งเป็นแนวการสอนตามหลักคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist Approach) จัดทำโดย Primary Connections ประเทศออสเตรเลีย ได้แก่ การมีส่วนร่วม (Engage) การสำรวจ (Explore) การอธิบาย (Explain) การปรับใช้ (Elaborate) และการประเมินผล (Engage) โดยในแต่ละขั้นตอนจะกำหนดทักษะที่คาดหวังในตัวผู้เรียน และกำหนดกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องทำเพื่อให้เกิดทักษะตามที่กำหนด

กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (แบบ 5 E)

กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้
ขั้นสร้างความสนใจ (engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจาก ความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเองหรือเกิดจากการอภิปรายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมา จากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษา ในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่าง ๆ หรือเป็นผู้กระตุ้นด้วยการเสนอประเด็นขึ้นมาก่อน แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามที่ครูกำลังสนใจเป็น เรื่องที่จะใช้ศึกษา เมื่อมีคำถามที่น่าสนใจ และนักเรียนส่วนใหญ่ยอมรับให้เป็นประเด็นที่ต้องการศึกษา จึงร่วมกันกำหนดขอบเขตและแจกแจงรายละเอียดของเรื่องที่จะศึกษาให้มีความ ชัดเจนยิ่งขึ้น อาจรวมทั้งการรวบรวมความรู้ประสบการณ์เดิม หรือความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่จะช่วยให้นำไปสู่ความเข้าใจเรื่องหรือประเด็นที่จะศึกษามากขึ้น และมีแนวทางที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย

ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ วิธิการตรวสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่น ทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป

ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูล ข้อสนเทศ ที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่าง ๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือวาดรูป สร้างตาราง ฯลฯ การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้ โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้ แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้

ขั้นขยายความรู้ (elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้น คว้าเพิ่มเติม หรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่างๆ ได้มาก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย ซึ่งก็จะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น

ขั้นประเมิน (evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ

การ นำความรู้หรือแบบจำลองไปใช้อธิบายหรือประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือเรื่อง อื่นๆ จะนำไปสู่ข้อโต้แย้งหรือข้อจำกัดซึ่งก่อให้เป็นประเด็นหรือคำถาม หรือปัญหาที่จะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จึงเรียกว่า inquiry cycle กระบวนการสืบเสาะหาความรู้จึงช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหา หลักและหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ได้ความรู้ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ต่อไป

ที่มา: หนังสือการจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

อุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน

ปัญหาความน่าท้าทายในการจัดการเรียนการสอน คือ ทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดดุลยภาพระหว่างความคุ้มทุน (cost effective) และคุณภาพในการเรียนการสอน (quality of teaching and learning) โดยยังคงสามารถตอบสนองความหลากหลายของผู้เรียน (learner difference) ได้ปัญหาในการดำเนินการสามารถประมวลได้เป็น 3 กรอบใหญ่ คือ ด้านประสิทธิภาพ (Effect) ด้านอารมณ์ความรู้สึก (Affect) และด้านความพยายามในการดำเนินกิจกรรม (Effort) ซึ่งจากการศึกษาของ McLeod (1989) พบว่าจากเหตุผลทั้งหมด 333 ประการที่คณาจารย์อ้างถึง เป็นประเด็นปัญหาจากเรื่องประสิทธิภาพการสอน รวมความถี่มากถึง 144 หรือ 43.3% คณาจารย์แสดงความคิดเห็นในเรื่องอุปสรรคการสอนชั้นเรียนขนาดใหญ่ที่สะท้อนจากเรื่องความพยายามดำเนินการมากขึ้นกว่าการสอนในชั้นเรียนปกติ 110 หรือ 33% และอุปสรรคที่สะท้อนแง่มุมในเรื่องอารมณ์ คือ 79 หรือ 23.7% อุปสรรคที่ผู้สอนมีความกังวล คือความไม่มั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการจัดกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียนขนาดใหญ่ได้ดีเท่าชั้นเรียนที่เคยได้สอน ซึ่งอาจสะท้อนได้จากบันทึกของอาจารย์ท่านหนึ่งดังนี้

“พรุ่งนี้จะต้องสอนห้องเรียนขนาดใหญ่ ยังไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร คิดว่าไม่น่าจะสอนได้ แต่ทำอย่างไรได้ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งใดได้เนื่องจากเป็นนโยบายมหาวิทยาลัย และเราก็ได้รับมอบหมายให้สอนในเทอมนี้ เรารู้สึกว่าอาจต้องมีปัญหาอุปสรรคมากมาย และผู้เรียนอาจไม่ได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ในชั้นเรียนขนาดใหญ่ เราจะจัดกิจกรรมอย่างไร เราจะจำชื่อผู้เรียนได้หรือไม่ เราจะตรวจสอบการเข้าเรียนได้อย่างไร เราจะจัดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดโต้ตอบอย่างไร เราจะควบคุมชั้นเรียนอย่างไร เราจะทำอย่างไร เราจะทำอย่างไร เราจะทำอย่างไร”

(บันทึกครู อ้างถึงโดย Boonmoh, 2005: 14)

ที่มา : สุมาลี  ชิโนกุล