ลักษณะที่ปรึกษาตามแบบคริสเตียน

นายสรพงษ์ ศรีบุญไทย พนักงานศาสนกิจ                  การให้คำปรึกษาแบบคริสเตียนนั้นเป็นพันธกิจของคริสเตียนผู้เชื่อในองค์พระเยซูคริสต์ผู้ที่แสวงหาหนทางในการช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต     โดยการให้คำปรึกษานั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อพระวจนะของพระเจ้า ซึ่งมาจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้งพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่   ซึ่งเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิต    ซึ่งในพระคริสตธรรมคัมภีร์นั้นได้บันทึกข้อมูล แนวทาง ข้อแนะนำ  และแนวปฏิบัติที่ดี    ซึ่งสอดคล้องกับการให้คำปรึกษาในประเภทต่างๆ ดังนี้ ประเภท Informative counseling คือ การปรึกษาโดยการให้ความรู้ รวมถึงวิธีปฏิบัติ หรือ การให้คำปรึกษาแบบ Directive counseling  คือ การปรึกษาโดยการชี้แนะแนวทาง หรือ แบบ Advocacy counseling คือ การปรึกษาโดยการให้ข้อมูลเพียงพอที่จะเลือกทางแก้ปัญหาที่มีหลายแบบ และการให้การปรึกษาSupportive counseling คือ การประคับประคองทางจิตใจ จนสงบเพียงพอจะแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง (พนม  เกตุมาน, 2562)   ซึ่งผู้ที่ให้การปรึกษาแบบคริสเตียนสามารถนำแนวทางหรือข้อปฏิบัติไปปรับประยุกต์ใช้ได้ตามบริบท และตามความเหมาะ สม ขึ้นอยู่กับลักษณะของปัญหาและสถานการณ์ของผู้ที่มาขอรับคำปรึกษาแต่ละคน  ในพระธรรม 2 ทิโมธี บทที่ 3 […]

ทักษะเบื้องต้นในการให้คำปรึกษา

ศาสนาจารย์ ดร. พญ. วิจิตรา อัครพิชญธร อนุศาสกและหัวหน้าสำนักศาสนกิจ   การให้คำปรึกษา หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือ ติดต่อสื่อสารกันด้วยวาจาและท่าทางที่เกิดจากสัมพันธภาพทางวิชาชีพของบุคคลอย่างน้อย 2 คน คือ ผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา การให้คำปรึกษาเป็นการช่วยเหลือให้คิดและตัดสินใจแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ด้วยการใช้เทคนิคต่างๆ ของการสร้างความสัมพันธ์ การสื่อสาร การสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน เนื่องจากการให้คำปรึกษาเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่เป็นทั้งผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา ต้องมีระบบระเบียบ มีขั้นตอนในการสร้างความเข้าใจ โดยมีหลักการดังนี้ ผู้ให้คำปรึกษาต้องได้รับการฝึกฝนเพื่อความเชี่ยวชาญมาก่อน ผู้รับคำปรึกษาต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตน ต้องมีความร่วมมือระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา ต้องรักษาจรรยาบรรณของผู้ให้คำปรึกษา ควรอยู่ในบรรยากาศที่เป็นส่วนตัว ต้องมีสัมพันธภาพที่ดีในระดับสูง เพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาเต็มใจเปิดเผยเรื่องราวที่จะปรึกษา เป้าหมายของการให้คำปรึ กษา คือ ช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรม เข้าใจปัญหาความยุ่งยากต่างๆ ของตนเองตามสภาพการณ์ที่เป็นจริง รู้จักคิดและตัดสินใจด้วยตนเองอย่างถูกต้อง สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะในการให้คำปรึกษา คือความสามารถหรือความชำนาญในการสื่อสาร ทั้งการใช้ภาษา ท่าทาง และภาษาพูด ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ให้คำปรึกษาในการช่วยเหลือผู้รับคำปรึกษา ให้มีความไว้วางใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการปรึกษา ให้เข้าใจปัญหา สาเหตุของปัญหา และความต้องการของตัวเอง แสวงหาแนวทางปรับเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดและแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้มีชีวิตที่มีความสุขขึ้น ทักษะเบื้องต้นในการสื่อสารประกอบด้วย ทักษะการใส่ใจ (Attending Skill) ทักษะการนำ (Leading Skill) ทักษะการถาม (Questioning […]