ระบบวงจร คุณภาพ PDCA จากหลักการสู่วิธีการปฏิบัติ และสร้างทีมคุณภาพ ตอนที่1

โดย : ธีระพงษ์

นำหลักการระบบวงจร คุณภาพ PDCA มาใช้เพื่อนำสู่วิธีการปฏิบัติ และสร้างทีมคุณภาพ ตอนที่ 1

การที่จะสร้างทีมงานคุณภาพให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมทุกๆ คนในองค์กรต้องเข้าใจระบบคุณภาพอย่างลึกซึ้ง หากองค์กรละเลย หรือให้ความสำคัญเพียงเล็กน้อย ทีมคุณภาพก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้ การนำหลักวงจรคุณภาพ PDCA ของ Deming มาใช้ก็เพื่อ

1. เพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ให้สามารถแข่งขันได้อย่างเต็มศักยภาพ
2. ก่อให้เกิดการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
3. ให้การวัดประสิทธภาพ และประสิทธิผลได้ชัดเจนทั้งระบบ

ระบบคุณภาพ PDCA นี้จะถูกนำมาใช้ และวัดผลบุคลากรทั่วทั้งองค์กรตั้งแต่ระดับสูง ไปสู่ระดับล่าง เพราะเชื่อว่า ระบบคุณภาพนี้จะสร้างประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นในองค์กร และขณะเดียวกันจะนำไปสู่การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มที่ และคุ้มค่าที่สุด

ระบบคุณภาพที่ก่อให้เกิดภาวะผู้นำ
การยึดการกระทำนั้นเป็นหลักสำคัญ ทฤษฏี Deming จะก่อให้เกิดปฏิกริยาลูกโซ่คุณภาพ และก่อให้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพ วงจรคุณภาพ PDCA มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประสิทธิผล เพื่อให้องค์กรสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน องค์กรจะใช้วงจรคุณภาพนี้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพ กับประสิทธิผล

ความสมดุลของคุณภาพ และค่าใช้จ่ายนั้นเกิดจากสมมติฐานที่แตกต่างกันขึ้นอยู่ประสิทธิผลที่ต้องการ เช่น หากต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ ก็ต้องเพิ่มการตรวจสอบ นั่นหมายความองค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม และอาจได้ผลผลิตที่ต่ำด้วยเนื่องจากมีการตรวจสอบเพิ่มขึ้นมา ในทางกลับกัน หากลดการตรวจสอบเพื่อให้เกิดการลดต้นทุน ผลที่ได้รับก็จะแตกต่างกัน ผลผลิตมากขึ้น กระบวน และคุณภาพก็ลดลงด้วย ผู้บริหารที่ดีจะต้องสร้างความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพ และประสิทธิผล หากทำได้ ภาวะผู้นำก็จะเกิดขึ้นทันที
การตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพ

เพื่อให้เกิดการ Implement เพื่อให้บรรลุเป้าหมายคุณภาพ ที่ตั้งไว้ การตรวจสอบจึงเป็นสิ่งจำเป็น, การพัฒนาส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่อองค์กรนั้นเกิดจาก 2 วิ ได้แก่ วิสัยทัศน์ และวิกฤต แต่ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากวิตัวที่ 2 นั่นเอง ดังนั้นระบบบริหารเชิงคุณภาพจึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องบริหารจัดการ เพื่อที่จะสร้างสินค้า และบริการที่มีคุณภาพ การพัฒนาแต่เริ่มถูกดำเนินการภายใต้สิ่งเหล่า มุ่งเน้นในการเพิ่ม หรือ ลดต้นทุนการผลิต, ตรวจสอบความผิดพลาด ต้นทุนส่วนนี้จึงถูกร่วมเข้าไปในต้นทุนในการดำเนินการ ซึ่งเป็นต้นทุนที่เพื่อป้องกันความ เพราะคุณภาพเกิดจากันป้องกันปัญหา ดังนั้นคุณภาพที่สูงนั้นมาจากประสิทธิภาพในการทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับ5 Mอันได้แก่ คน(Man), เครื่องจักร (Machine), วิธีการ (Method), และวัตถุดิบ (material) และ เงิน (Money) ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลโดยตรงกับประสิทธิภาพ การตรวจวัดประสิทธิภาพจึงเป็นเครื่องมือที่ป้องกันความผิดพลาด, ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความผิดพลาด และการตรวจสอบทำให้เกิดความเชื่อมั่นในเรื่องคุณภาพที่จะเกิดขึ้นตามมา

แต่อย่างไรก็ดีการที่จะทำให้การตรวจสอบนั้นบรรลุซึ่งคุณภาพนั้นการตรวจสอบจะต้องมีข้อควรระวังดังนี้

1. การตรวจสอบจะต้องให้ความสำคัญ และครอบคลุมทุกจุด ห้ามละเลยจุดจุดหนึ่งเป็นอันขาด
2. บุคลากรต้องเข้าใจ และให้ความสำคัญต่อการตรวจสอบ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ
3. บุคลากรต้องมีส่วนร่วม และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และป้องกันความผิดพลาดที่จะ
เกิดขึ้น
4. การเปลี่ยนแปลงสู่ระบบใหม่นั้นจะต้องเผชิญหน้าความเสี่ยง บุคลากรต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง
และไม่กลัวความล้มเหลว
5. บุคลากรจะต้องไม่มุ่งที่ผลรางวัลมากกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพในงานของตน

ที่มา :  http://www.tpa.or.th

ข้อความนี้ถูกเขียนใน แบ่งปันความรู้ของสำนัก คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

4 ตอบกลับไปที่ ระบบวงจร คุณภาพ PDCA จากหลักการสู่วิธีการปฏิบัติ และสร้างทีมคุณภาพ ตอนที่1

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น