การเขียนหนังสือติดต่อราชการ: การใช้คำว่า “ด้วย” หรือ “เนื่องจาก”

การใช้คำ “ด้วย” หรือ “เนื่องจาก”

การขึ้นต้นโดยใช้คำว่า “ด้วย” หรือ “เนื่องจาก” ใช้ในกรณีที่เป็นเรื่องใหม่ ซึ่งไม่เคยติดต่อหรือรับรู้กันมาก่อน ระหว่างผู้มีหนังสือไปกับผู้รับหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนั้น เช่น

ที่มา: การเขียนหนังสือราชการ: ความรู้พื้นฐานในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ. (2560). https://www.ocsc.go.th/download/2560/การเขียนหนังสือราชการ-ebook [สืบค้นวันที่ 13 ม.ค. 2563]

 

เนื้อเรื่องของหนังสือภายนอกและหนังสือภายใน

เนื้อเรื่องของหนังสือภายนอกและหนังสือภายใน

เนื้อเรื่องของหนังสือภายนอกและภายใน คือ ข้อความที่มีผู้มีหนังสือไปแจ้งไปยังผู้รับหนังสือ ซึ่งเขียนย่อหน้าต่อจาก “คำขึ้นต้น” อาจเป็นข้อความตอนเดียว หรือ 2 ตอน หรือ 3 ตอน แล้วแต่กรณี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สาระสำคัญของเนื้องเรื่องจะกล่าวถึงเหตุที่มีหนังสือไปตอนเดียว หรือเหตุที่มีหนังสือไปตอนหนึ่งและเรื่องต่อเนื่อง หรือเรี่องต่อเนื่องกับผลของเรื่องนั้นอีกตอนหนึ่งก็ได้
“เนื้อเรื่อง” ของหนังสือภายนอกและหนังสือภายใน จะเริ่มต้นด้วยการอ้างเหตุที่มีหนังสือไป

สาเหตุของหนังสือ ประกอบด้วย สาเหตุที่ต้องมีหนังสือไป และเรื่องต่อเนื่อง
1. สาเหตุที่ต้องมีหนังสือไป
ด้วย…………………………………….
เนื่องจาก……………………………..
ตาม…………………………………… นั้น
ตามที่…………………………………. นั้น
อนุสนธิ………………………………. นั้น
2. เรื่องต่อเนื่อง
ได้ดำเนินการต่อไปอย่างไร……..
ผลของการดำเนินการ……………

การใช้ถ้อยคำและวรรคตอนของเนื้อเรื่อง
เหตุที่มีหนังสือไป จะขึ้นต้นด้วยคำหนึ่งดังต่อไปนี้

อ้างอิงจาก : 

  1. ศิลปะการเขียนหนังสือราชการ.https://www.opsmoac.go.th/km-km_org_center-files-391991791026 [สืบค้นวันที่ 9 พ.ค. 2562]
  2. การเขียนหนังสือราชการ: ความรู้พื้นฐานในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ. (2560). https://www.ocsc.go.th/download/2560/การเขียนหนังสือราชการ-ebook [สืบค้นวันที่ 13 ม.ค. 2563]

การเขียนหนังสือราชการ: ส่วนเนื้อเรื่อง

ส่วนเนื้อเรื่อง

      

เนื้อเรื่องของหนังสือภายนอก คือ “ข้อความ” ที่ผู้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้รับหนังสือ ซึ่งผู้ร่างหนังสือจะต้องเขียนเองทั้งหมด
          เนื้อเรื่อง จะประกอบด้วยเหตุที่มีหนังสือไป ซึ่งอาจเป็นข้อความตอนเดียว หรือ 2 ตอน หรือ 3 ตอนก็ได้

อ้างอิงจาก :  การเขียนหนังสือราชการ: ความรู้พื้นฐานในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ. (2560). https://www.ocsc.go.th/download/2560/การเขียนหนังสือราชการ-ebook [สืบค้นวันที่ 13 ม.ค. 2563]

การเขียน “อ้างถึง” และ “สิ่งที่ส่งมาด้วย”

หลักการเขียน “อ้างถึง”

  1. ให้อ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันมาก่อนแล้วทุกครั้ง โดยให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือ และเลขที่หนังสือ วันที่ เดือน ปีพุทธศักราช ของหนังสือนั้น
  2. ให้อ้างถึงหนังสือฉบับสุดท้ายที่เคยติดต่อกันเพียงฉบับเดียว  เว้นแต่มีเรื่องอื่นที่เป็นสาระสำคัญต้องนำมาพิจารณา

หลักการเขียน “สิ่งที่ส่งมาด้วย”

  1. ให้เขียนชื่อสิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร ที่ส่งไปพร้อมกับหนังสือนั้น
  2. ในกรณีที่ไม่สามารถส่งไปในซองเดียวกันได้ ให้แจ้งด้วยว่าส่งไปโดยทางใด
 การเขียน “อ้างถึง”

ในการเขียนส่วนอ้างถึง จะใช้ในกรณีที่มีการติดต่อกันมาก่อนหน้านี้ เพื่อเป็นการ เท้าความเดิมหรืออ้างอิงที่มา จะได้ไม่ต้องกล่าวซ้ำอีก โดยต้องระบุชื่อหน่วยงานที่อ้างถึงชั้นความลับ (ถ้ามี) ชั้นความเร็ว (ถ้ามี) เลขที่หนังสือ ลงวันที่ของหนังสือที่อ้างถึง ตามลำดับ

การเขียนอ้างถึง ในส่วนหัวของหนังสือภายนอก

อ้างถึง หนังสือกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ ๑๒๓๔.๕/๖๗ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘

การเขียนอ้างถึงที่ระบุชั้นความเร็ว ในส่วนหัวของหนังสือภายนอก

อ้างถึง หนังสือกระทรวงสาธารณสุข ด่วนมาก ที่ สธ ๑๒๓๔/๕๖ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘

การเขียนอ้างถึงที่ระบุชั้นความเร็ว และชั้นความลับ ตามลำดับในส่วนหัวของหนังสือภายนอก

อ้างถึง หนังสือกระทรวงสาธารณสุข ลับมาก ด่วนที่สุด ที่ กค ๑๒๓๔/๕ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘

การเขียนอ้างถึงหนังสือของศาลากลางจังหวัด ในส่วนหัวของหนังสือภายนอก

อ้างถึง หนังสือจังหวัดเชียงใหม่ ที่ ชม ๐๐๐๑/๑๒๓๔ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘
(ไม่นิยม ใส่ศาลากลางจังหวัดเพราะเป็นสถานที่ราชการ)
การเขียน “สิ่งที่ส่งมาด้วย”(หนังสือภายนอก)     

      การเขียนสิ่งที่ส่งมาด้วย  สิ่งที่ส่งมาด้วย ใช้กับหนังสือภายนอก เท่านั้น และต้องระบุจำนวนที่ชัดเจนด้วย
      สำหรับหนังสือภายใน หรือบันทึก จะใช้ เอกสารแนบ

การเขียน “สิ่งที่ส่งมาด้วย” มีวิธีการดังนี้
1. ให้ระบุว่าเป็นเอกสารหรือสิ่งใด จำนวนเท่าใด
2. หากเป็นเอกสาร ควรระบุประเภทว่าเป็นเอกสารอะไร จำนวนเท่าใด
3. ลักษณะนามที่ใช้ให้สะท้อนลักษณะหรือรูปแบบของสิ่งที่ส่งมาด้วยอย่างชัดเจน กรณี เป็นเอกสาร งดใช้ “ฉบับหรือชุด” เพื่อสะดวกแก่การตรวจนับ ดังตัวอย่าง

 สิ่งที่ส่งมาด้วย  ๑. รายงานการประชุม ๕ ส จํานวน ๓ แผ่น
              ๒. โปสเตอร์รณรงค์ ๕ ส จํานวน ๕ แผ่น
              ๓. หนังสือคู่มือ ๕ ส จํานวน ๑ เล่ม

4. ในการเขียนส่วนเนื้อหา หากมีเนื้อความที่กล่าวถึงสิ่งที่ส่งมาด้วย ควรเขียนเชื่อมโยง
ถึงกันเพื่อความชัดเจนด้วย เช่น
     มหาวิทยาลัยขอส่งรายงานการประชุมมาเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ โดยขอให้ติดโปสเตอร์รณรงค์ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๒ และหากมีข้อสงสัย

อ้างอิงจาก : 

1.       การเขียนจดหมายราชการ.https://stang.sc.mahidol.ac.th/kb/?p=434 [สืบค้นวันที่ 21 ม.ค. 2562]
2.       เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ. http://www.ubu.ac.th/web/files_up/82f2017 060810445660.pdf [สืบค้นวันที่ 24 เม.ย. 2562]
3.       สำนักงานเลขานุการกรม.คู่มือการเขียนหนังสือราชการของกรมสุขภาพจิต. https://secret.dmh.go.th/news/files/การเขียนหนังสือราชการ.pdf [สืบค้นวันที่ 19 พ.ย. 2562]

 

การเขียนหนังสือราชการ: คำขึ้นต้นและ คำลงท้ายของจดหมาย

คำขึ้นต้น และ คำลงท้ายของจดหมาย

ในการเขียนจดหมาย จะต้องมีการเขียนคำขึ้นต้น และคำลงท้ายตามความเหมาะสมแต่ละประเภท และบุคคล ดังนี้
คุณพ่อ คุณแม่    คำขึ้นต้น    กราบเท้าคุณพ่อ, คุณแม่ที่เคารพ
คำลงท้าย    ด้วยความเคารพอย่างสูง
ผู้บังคับบัญชา –  คุณครู   คำขึ้นต้น กราบเรียน………ที่เคารพอย่างสูง, เรียนคุณครูที่ปรึกษาชั้นที่…. /………ที่เคารพ
คำลงท้าย   ขอแสดงความเคารพ , ด้วยความเคารพ
ธุรกิจ          คำขึ้นต้น   เรียนผู้จัดการแผนก……………
คำลงท้าย   ด้วยความนับถือ
ญาติผู้ใหญ่      คำขึ้นต้น   กราบ………..ที่เคารพ (อย่างสูง)
คำลงท้าย   ด้วยความเคารพ (อย่างสูง)
พี่ (อาวุโสน้อย)  คำขึ้นต้น   พี่………ที่รัก
คำลงท้าย    ด้วยความรัก, ด้วยความเคารพ
น้อง – เพื่อน    คำขึ้นต้น   ถึง………ที่รัก ,น้อง ………ที่รัก
คำลงท้าย   ด้วยความรัก รัก , ด้วยความคิดถึง คิดถึง ,  รักและคิดถึง
พระสงฆ์        คำขึ้นต้น    นมัสการ
คำลงท้าย    นมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง

คำขึ้นต้นของหนังสือราชการ      ให้ใช้ตามฐานะของผู้รับหนังสือ
๑. เรียน หัวหน้าส่วนราชการ ชื่อตำแหน่ง หรือ ชื่อบุคคล
๒. กราบเรียน ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ฯลฯ
๓. อื่นๆ

  การใช้คำขึ้นต้นและคำลงท้ายตามฐานะของผู้รับหนังสือตามภาคผนวก ๒ ท้ายระเบียบฯ  แล้วลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึง หนังสือราชการส่วนใหญ่ใช้ชื่อตำแหน่งของผู้มีหนังสือถึง ยกเว้น มีหนังสือถึงตัวบุคคลไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ เช่น การเชิญบุคคลภาคเอกชนเป็นวิทยากร

ภาคผนวก 2 คำขึ้นต้น สรรพนาม คำลงท้าย และคำที่ใช้ในการจ่าหน้าซอง

อ้างอิงจาก : 

  1. แก้ไขเพิ่มเติม ภาคผนวก 2 คำขึ้นต้น สรรพนาม คำลงท้าย และคำที่ใช้ในการจ่าหน้าซอง. ท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526  [สืบค้นวันที่ 21 ต.ค. 2562]
  2. การเขียนหนังสือราชการให้ถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณฯ เรื่อง ชนิด รูปแบบ และโครงสร้างหนังสือราชการ.http://odpc1.ddc.moph.go.th/gag/wp-content/uploads/2018/05/saraban_write.pdf [สืบค้นวันที่ 21 ต.ค. 2562]
  3. ศิลปะในการเขียนหนังสือราชการ.https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/silpaainkaarekhiiynhnangsuueraachkaar.pdf [สืบค้นวันที่ 21 ต.ค. 2562]
  4. การเขียนจดหมายส่วนตัวและจดหมายธุรกิจ. http://www.tatc.ac.th/files/08122511113930_ 11060520203128.doc [สืบค้นวันที่ 21 ต.ค. 2562]

แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การเสนอเอกสารและการรับเอกสาร

ประเด็น / ปัญหา 

  • การนำเสนอเอกสารต่อผู้บริหารอย่างไรให้ทันต่อเวลา
  • ลดการสูญหายของเอกสาร

แนวปฏิบัติ

  1. การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการนำเสนอเอกสารต่อผู้บริหารให้ทันต่อระยะเวลาที่กำหนด
  2. การจัดทำฐานข้อมูลการรับ-ส่ง เอกสารโดยการบันทึกข้อมูลของเอกสาร และแสกนเอกสารบันทึกเป็นไฟล์ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อความเร็วในการค้นหาเอกสาร และลดการสูญหาย

การเขียน “เรื่อง” กรณีหนังสือต่อเนื่อง และ หนังสือตอบปฏิเสธ

กรณีหนังสือต่อเนื่อง (โต้ตอบ)

หนังสือต่อเนื่อง (โต้ตอบ) ให้ใช้ชื่อเรื่องเดิม เว้นแต่ฉบับเดิมเป็นคำขอ ขออนุมัติ ขออนุญาต ขอความอนุเคราะห์ เช่น
…ขออนุมัติเลื่อนเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ
…ขอความอนุเคราะห์ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการสัมมนา
และนิยมใช้คำว่า “การ” มานำหน้าชื่อเรื่องเดิม
…การขออนุมัติเลื่อนเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ
…การขอความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการสัมมนา
หรือถ้าชื่อเรื่องไม่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง อาจจะไม่ใช้คำว่า “การ” มานำหน้าก็ได้ แต่ให้มีข้อความเดิมบางส่วนคงไว้ว่าเป็นเรื่องต่อเนื่อง เช่น
…ขอความอนุเคราะห์ตอบแบบสอบถาม
เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วจะส่งแบบสอบถามกลับคืน อาจหมายความว่า เป็นการอธิบายการขอความอนุเคราะห์ตอบ ควรใช้ชื่อเรื่อง ดังนี้
…ส่งแบบสอบถาม

กรณีหนังสือตอบปฏิเสธ 

หนังสือตอบปฏิเสธไม่อนุมัติ ไม่อนุญาต ไม่อนุเคราะห์ ต้องคำนึงถึง ความสัมพันธ์
…การอนุมัติเลื่อนเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ
…การขอความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการสัมมนา

 

 


อ้างอิงจาก : เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ.https://www.opsmoac.go.th/km-km_org_center-files-391991791808 [สืบค้นวันที่ 9 พ.ค. 2562]