แนวปฏิบัติ การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

บทความวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

  • Nongpimol Nimit-arnun, Supatra Chouwai, and Wiraporn Suebsoontorn

บทความวิจัยเกี่ยวกับการหกล้มในผู้สูงอายุ

บทความวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

 

บทความวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

การออกกำลังกายแบบตาราง 9 ช่อง

ภาพประกอบการฝึกตาราง 9 ช่องในวิทยานิพนธ์ของ วิราพร สืบสุนทร ที่ชุมชนบางยาง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

ทั้งนี้การออกกำลังกายตาราง 9 ช่อง ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ วุฒิภาวะทางอารมณ์ สังคม สติปัญญา ช่วยกระตุ้นการสั่งการของระบบประสาทและกล้ามเนื้อให้มีทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ และการคิดอย่างมีเหตุผล นอกจากนี้การออกกำลังการด้วยวิธีนี้ยังช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ผ่อนคลายอารมณ์ อีกทั้งช่วยในเรื่องการทรงตัว พัฒนาความแข็งแรง ความสัมพันธ์ในการเคลื่อนไหว และที่สำคัญสามารถช่วยลดปัญหาการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุได้

ภาพบรรยากาศ:โครงการอบรมฟื้นฟูวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติ เรื่อง “การดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมในบริการสุขภาพปฐมภูมิ”

คณะพยาบาลศาสตร์ จัดโครงการอบรมฟื้นฟูวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติ
เรื่อง “การดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมในบริการสุขภาพปฐมภูมิ”
ระหว่างวันที่ 5–วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุม 1-204 ชั้น 2
อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยคริสเตียน

ทั้งนี้สมาชิก CoP การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ เป็นวิทยากร และ เข้าร่วมอบรมด้วย

อัตราการเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มในประเทศไทย

จากแผนภูมิแสดงอัตราการเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้ม ในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปต่อประชากรแสนคน จำนวนตามกลุ่มผู้สูงอายุ ปี พ.ศ. 2551-2560 พบอัตราการเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มมีแนวโน้มสูงขึ้น และช่วงอายุที่พบมากที่สุด คือ ช่วงอายุ 80 ปีขึ้นไป
จากตารางแสดง 10 จังหวัด อันดับแรกที่มีอัตราเสียชีวิตสูงสุดจากการพลัดตกหกล้ม (W00-W19) ในกลุ่มผุ้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปต่อประชาชนแสนคน พ.ศ. 2551-2560 โดยในปี 2560 จังหวัดน่าน พบอัตราการเสียชีวิจจากการพลัดตกหกล้มร้อยละ 32.4 อีกทั้ง จังหวัด เชียงราย พบอัตราการเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้ม เป็นอันดับ 1 ถึง 3 ปี ดังนี้
ปี 2554 2557 และ 2559 พบร้อยละ 27.1-27.2

A Global Report on Falls Prevention Epidemiology of falls

A Global Report on Falls Prevention Epidemiology of falls-Sachiyo Yoshida

จากกราฟวงกลมแสดงสถานที่ในการหกล้ของผู้สูงอายุ พบว่าอุบัติการหกล้มภายนอกบ้านเกิดขึ้นสูงที่สุด ร้อยละ 56 รองลงมา คือ พื้นต่างระดับ พบร้อยละ 26
จากกราฟแสดง ร้อยละของการเกิดการหกล้มในผู้สุงอายุพบว่า การหกล้มในผู้สูงอายุจะเกิดเพิ่มขึ้นตามอายุ
ทั้งนี้พบ ผู้สูงอายุในช่วงอายุ 85 ปีขึ้นไป มีอุบัติการการหกล้มสูงถึง ร้อยละ 37

ประชาสัมพันธ์เชิญชวน อบรมฟื้นฟูวิชาการเวชปฏิบัติ เรื่อง”การดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม ในบริการสุขภาพปฐมภูมิ”

เรื่องแจ้ง และประชาสัมพันธ์ อบรมฟื้นฟู รายละเอียด ดังภาพ