ประชุมสมาชิก Cop เพื่อพัฒนาคุณภาพวารสาร ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2567

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

ประชุมสมาชิก Cop เพื่อพัฒนาคุณภาพวารสาร ภาคฤดูร้อน/2566

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

ประชุมสมาชิก Cop เพื่อพัฒนาคุณภาพวารสาร ภาคการศึกษาที่ 2/2566

 

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

ประชุมสมาชิก Cop เพื่อพัฒนาคุณภาพวารสาร ภาคการศึกษาที่ 1/2566

 

 

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

เกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 5 (2568-2572)

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

ประชุมวิชาการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทย ครั้งที่ 14

         เมื่อวันพุธที่ 15  มีนาคม 2566  ผศ.ดร.ศากุล  ช่างไม้ บรรณาธิการวารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน และ   อาจารย์ ดร.อภินันต์   อันทวีสิน บรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน พร้อมด้วยเลขานุการวารสารฯ  เข้าร่วม  “ประชุมวิชาการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพ          วารสารวิชาการไทย ครั้งที่ 14”  จัดโดยศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย  (ศูนย์ TCI) เพื่อทราบนโยบายของชาติ   ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย    การพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยรวมถึงร่าง    เกณฑ์    การประเมินวารสารในฐานข้อมูล TCI รอบที่  5   (พ.ศ. 2568-2572)   แก่บรรณาธิการ    วารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล ศูนย์ TCI   ณ  ห้องรอยัล   จูบิลี่  บอลรูม  อาคารซาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี   จังหวัดนนทบุรี

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

“การจัดทำวารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ TCI กลุ่ม 1”

             ศูนย์วิทยบริการและหอสมุด ได้จัดตั้งชุมชนการปฏิบัติ (CoP) เรื่อง  “การจัดทำ  วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ TCI กลุ่ม 1” ในฐานะที่บุคลากร    ของศูนย์วิทยบริการฯ    ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการวารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน   ในการศึกษา 2564  มีประเด็นปัญหาสำคัญในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้    ระหว่างสมาชิก (CoP)  นการประชุมสามัญของคณะกรรมการ 5 ครั้ง ที่ผ่านมาตลอดปี     เพื่อหารือ วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาและเป็นแนวทางปฎิบัติในการจัดทำวารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน เป็นตามเกณฑ์ของศูนย์ TCI สำหรับ   กองบรรณาธิการและฝ่ายจัดการวารสารฯ

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ”

                                   “การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ”

          ศูนย์วิทยบริการและหอสมุด  ซึ่งรับผิดชอบการจัดตั้งชุมชนการปฏิบัติ (CoP) “การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ” เพื่อจัดการความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทความวิจัยและบทความวิชาการ ได้จัดประชุมเมื่อวันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2561 โดยเชิญสมาชิกของชุมชนมาพบปะพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกและ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการเขียนบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมาร่วมแบ่งปันความรู้จำนวน 3 ท่าน คือ ผศ.พ.อ.หญิง ดร.นงพิมล  นิมิตอานันท์, ผศ.ดร.ศากุล ช่างไม้ และ ผศ.ดร.ทิพาต่อสกุลแก้ว  ซึ่งในวันดังกล่าวมีสมาชิกสนใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 14 คน

สรุปประเด็นความรู้ที่ได้จากการประชุมมีดังนี้   

1.  การเริ่มต้นเขียนบทความ

จากประเด็น“จะเริ่มต้นเขียนบทความวิชาการอย่างไร”ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ได้เล่าประสบการณ์และให้ข้อเสนอแนะว่า

อาจารย์ผู้สอนควรเริ่มต้นเขียนบทความวิชาการ จากเรื่องที่สนใจศึกษาหัวข้อที่รับผิดชอบสอนหรือจากประสบการณ์การทำงานประจำที่มีความถนัด โดยนำหัวข้อย่อยที่จะสอนไปค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร เมื่อมีข้อมูลมากพอในการเตรียมการสอนหรือการทำงานแล้วก็ควรนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ต่อโดยนำไปเรียบเรียงเขียนเป็นบทความวิชาการในเรื่องที่ตนสนใจ จะทำให้ได้งานเพิ่มขึ้นอีก 1 ชิ้นงาน ซึ่งเป็นผลงานวิชาการและการค้นคว้าข้อมูลเพื่อทำวิจัยหรือเตรียมการสอน อาจารย์หรือนักวิจัยควรจะต้องพยายามหาข้อมูลที่ทันสมัย เพื่อเรียบเรียงเป็นบทความสังเคราะห์วรรณกรรม  สังเคราะห์ความรู้จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบSystematic Review จะมีความน่าสนใจมากกว่าและยังนำไปเขียนเป็นบทความวิชาการได้ด้วย

ควรรีบเขียนเป็นบทความวิชาการทันทีเมื่อรวบรวมข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมได้มากพอ อย่าเก็บไว้นานเกินไป จนทำให้ขาดแรงจูงใจในการเขียน

2. การเขียนบทความวิชาการ

ประเด็นอาจารย์บางท่านอาจสับสนระหว่างการเขียนบทความวิชาการกับการเขียนบทความวิจัย ซึ่งมีข้อแนะนำว่า บทความวิชาการเป็นการสังเคราะห์ความรู้ จากการสืบค้นและศึกษาทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบที่ทันสมัย (ไม่ควรเกิน 10 ปี) หรือที่เรียกว่าIntegrative Review และ Systematic Review ซึ่งเป็นการประมวลข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์และงานวิจัยต่างๆในเรื่องที่สนใจศึกษาและนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลก่อนนำมาเรียบเรียงเขียนเป็นบทความวิชาการ จะทำให้ได้บทความที่น่าสนใจเพราะมีสถิติอ้างอิงจากงานวิจัยหลายเรื่อง

3.  การเลือกแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่

ผู้เขียนควรศึกษาแหล่งตีพิมพ์บทความ โดยเลือกวารสารที่เปิดรับบทความตรงกับสาขาวิชา ที่สำคัญคือต้องเป็นวารสารวิชาการที่มีคุณภาพหรืออยู่ในฐานข้อมูล TCI (ศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย) และปัจจุบันสามารถสืบค้นบทความหรือข้อมูลของวารสารได้จากเว็บไซต์ ThaiJOได้อีกช่องทางหนึ่ง  ซึ่งวารสารที่อยู่ในกลุ่ม 1 ส่วนใหญ่จะมีคิวการตีพิมพ์ยาวมากผู้เขียนจึงต้องวางแผนเวลาการส่งล่วงหน้าเพื่อให้ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์ในห้วงเวลาที่ต้องการนับผลงาน  โดยเฉพาะบทความวิจัยที่ได้รับทุนจะต้องพยายามหาแหล่งตีพิมพ์ให้ทันตามกรอบเวลาของทุนวิจัยผู้เขียนควรศึกษารูปแบบของการเขียนบทความจากคำแนะนำของแต่ละวารสารเนื่องจากวารสารแต่ละชื่อมีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน เพื่อจัดเตรียมต้นฉบับบทความได้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดจะทำให้ไม่เสียเวลาในการแก้ไขและจะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์เร็วขึ้น 

4. ปัญหาการเขียนและการตีพิมพ์บทความภาษาอังกฤษ

กรณีที่ต้องเขียนบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเป็นภาษาอังกฤษ ผู้เขียนควรจะมีที่ปรึกษาหรือ   พี่เลี้ยงช่วยตรวจสอบเป็นเบื้องต้นและหาผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบภาษาอังกฤษ (Editing) โดยเจ้าของภาษาซึ่งอาจารย์ ดร.นวปฎล กิตติอมรกุล เสนอแนะว่าหากต้องการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ แต่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงานช่วยอ่านหรือแปลบทความอาจจะติดต่อผู้เชี่ยวชาญภายนอกซึ่งเป็น Proof Reading ในนามบริษัทซึ่งมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก(คำละ 30 สตางค์) และสามารถออกหนังสือรับรองการตรวจสอบได้อีกด้วย สำหรับการหาแหล่งตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศควรศึกษาระเบียบ  รูปแบบหรือข้อเสนอแนะในการจัดทำต้นฉบับ (Manuscript Preparation) รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ และติดต่อล่วงหน้าซึ่งบางวารสารอาจจะไม่มีค่าใช้จ่าย

5.  การปรับรูปแบบการเขียนบทความในวารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน ซึ่งที่ประชุมมีข้อเสนอแนะดังนี้

5.1    รูปแบบการอ้างอิง ควรปรับปรุงคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับให้ถูกต้องตามรูปแบบ APA 6th edition รวมทั้งแก้ไขปรับปรุงตัวอย่างการเขียนอ้างอิงให้ถูกต้องชัดเจน

5.2   ควรกำหนดให้ผู้เขียนระบุ “คำสำคัญ” และ “Keywords” ท้ายบทคัดย่อและ Abstract เหมือนกันทุกเรื่องโดยกำหนดให้มีจำนวนคำ 3-5 คำและกำหนดรูปแบบการพิมพ์ให้มีเครื่องหมาย / คั่นระหว่างคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษและเรียงลำดับคำสำคัญและ Keywords  แต่ละคำให้ตรงกันเพี่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันทุกบทความ

5.3   ควรกำหนดให้มีการระบุหัวข้อการพิทักษ์สิทธิ์ผู้เข้าร่วมวิจัยให้ชัดเจนในบทความวิจัยที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในงานวิจัย

5.4   ควรเพิ่มเติมข้อมูลผู้เขียนหลักหรือผู้รับผิดชอบหลัก (Corresponding author) ใน Footnote หน้าแรกของบทความ ได้แก่ สถานที่ติดต่อหรือ e-mail และหากเป็นบทความจากวิทยานิพนธ์ควรใส่ correspondingของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก

 

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น