หลักการเขียนหนังสือติดต่อราชการที่ดี

หลัก 5 คิดค้นเพื่อการจดจำที่ง่ายขึ้น ได้แก่
1.ถูกต้อง (Correct) 
2.ชัดเจน (Clear) 
3.รัดกุม (Confirm)
4.กะทัดรัด (Concise)
5.การโน้มนำสู่จุดประสงค์ (Convince)

 

3.รัดกุม (Confirm)

การยืนยันได้ในสิ่งที่เขียน การเขียนหนังสือควรมีความถูกต้อง ความชัดเจนแล้ว ควรมีความรัดกุม กล่าวคือ อ่านแล้วไม่ต้องตีความ เขียนให้เข้าใจด้วยความเรียบง่าย ไม่มีแง่มุมให้พิจารณาเป็นอย่างอื่น ข้อมูลที่ใช้เขียนควรเป็นข้อเท็จจริงที่ สามารถยืนยันได้ หรือเป็นการอ้างอิงกฎหมาย กฎ ระเบียบ  ข้อบังคับ และมติต่างๆ

ถ้าเป็นกรณีที่ไม่อาจยืนยันได้นอนว่ากรณีจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป ก็ไม่ควรใช้คำยืนยันให้เป็ฯการผูกมัด แต่ควรใช้คำแบ่งรับแบ่งสู้ เช่น ในการตอบข้อหารือที่เราเห็นว่าโดยทั่วไปกรณีจะเป็นอย่างนั้น
แต่อาจมีกรณีพิเศษที่อาจไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้ เช่นนี้ ควรเติมคำว่า “โดยปกติ” ลงไปในคำตอบนั้นเป็นต้น

 

4.กระทัดรัด (Concise)

คือ ความสั้น กระชับ กะทัดรัดได้ใจความ ไม่ใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย ไม่วกวน ไม่ซ้ำซาก ควรเขียนในลักษณะสรุปความ คือ นำเสนอส่วนข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้

 

 

5.การโน้มนำสู่จุดประสงค์ (Convince)

คือ การโน้มน้าว เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเขียนหนังสือเพื่อขอความอนุเคราะห์ ขอความร่วมมือ ขอความช่วยเหลือ การเขียนหนังสือเพื่อโน้มน้าวควรใช้ภาษาที่ดี สุภาพ และเขียนด้วย ความรู้สึกที่ดีงามอย่างแท้จริง

 

ที่มา:เอกสาร(ออนไลน์).สืบค้นจาก
1.http://www.rtc.ac.th/www_km/03/037_010953.pdf [4 มี.ค. 62]
2.http://www.ubu.ac.th/web/files_up/82f2017060810445660.pdf [25 ก.พ.62]

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *