การเขียนหนังสือติดต่อราชการ: การเขียนจุดประสงค์ของเรื่อง

ลักษณะของ จุดประสงค์ ของเรื่อง

ในโครงสร้างของหน้งสือติดต่อราชการจะมีสิ่งสำคัญคือ “ข้อความ” ได้แก่ ส่วนที่เป็น “เนื้อเรื่อง” กับส่วนที่เป็น “จุดประสงค์ของเรื่อง”

“จุดประสงค์ของเรื่อง ” จึงเป็นเหตุของ “เนื้อเรื่อง”

โดย “จุดประสงค์ของเรื่อง” จึงมักเขียนคำว่า “จึง……..”  ทั้งนี้ โดยเขียนย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ เป็นคนละตอนกับ “เนื้อเรื่อง”

โครงสร้างของหนังสือราชการ ส่วนที่ 3 จุดประสงค์ที่มีหนังสือไป
เนื้อความจะกล่าวถึงจุดประสงค์ของหนังสือราชการฉบับนั้น ซึ่งจะต้องเขียนให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้รับหนังสือทราบว่า ผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร ในกรณีที่มีจุดประสงค์หลายประการ ควรแยกจุดประสงค์เป็นรายข้ออย่างชัดเจน เพื่อให้มีความสะดวกต่อการทําความเข้าใจและการนําไปปฏิบัติ

  

จุดประสงค์ที่มีหนังสือไป อาจมีลักษณะและความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
ลักษณะ ความมุ่งหมาย
คําแจ้ง เพื่อทราบ เพื่อให้พิจารณา เพื่ออนุมัติ เพื่อให้ดําเนินการ เพื่อให้ความร่วมมือเพื่อถือปฏิบัติ
คําขอ เพื่อพิจารณา เพื่อให้ช่วยเหลือ เพื่อให้ความร่วมมือ เพื่อให้ดําเนินการ
คําซักซ้อม เพื่อให้เข้าใจ
คํายืนยัน เพื่อให้แน่ใจ
คําสั่ง เพื่อให้ปฏิบัติ
คําเตือน เพื่อไม่ให้ลืมที่จะปฏิบัติ
คํากําซับ เพื่อให้ปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความระมัดระวัง
คําถาม เพื่อขอทราบคําตอบ
คําหารือ เพื่อขอความเห็น

ย่อหน้าที่ 3 ควรเป็นประโยคสั้นๆ เป็นบทสรุป เน้นย้ำ หรือขอบคุณ ไม่ควรมีเนื้อหาสำคัญอยู่ในส่วนนี้อีก

อ้างอิงจาก :
1. การเขียนหนังสือราชการ: ความรู้พื้นฐานในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ. (2560). https://www.ocsc.go.th/download/2560/การเขียนหนังสือราชการ-ebook [สืบค้นวันที่ 12 มิ.ย. 2563]
2. เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ.https://www.opsmoac.go.th/km-km_org_center-files-391991791808 [สืบค้นวันที่ 13 มิ.ย. 2563]

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *