บันทึกการให้คำปรึกษานักศึกษารายบุคคล

ปีการศึกษา : 2560    วัน เดือน ปี : 21 เมษายน 2561 ชื่อผู้ให้คำปรึกษา : นางสาวพรพิมล จะหลู                              ปัญหาที่พบ นักศึกษาไม่มีความมั่นใจ และเชื่อมั่นในตัวเองว่าจะสามารถเรียนให้จบได้หรือไม่ เนื่องจากเห็นรุ่นพี่เรียนหนักและทำงานหนัก จึงคิดว่าตัวเองคงจะทำไม่ได้ ทำให้รู้สึกกลัว ท้อและไม่มีกำลังใจในการเรียน เพราะเป็นคนเรียนไม่เก่ง กระบวนการให้คำปรึกษา เริ่มต้นด้วยการสร้างสัมพันธ์ ส้รางบรรยากาศเป็นกันเองและไว้วางใจ และเข้าสู่ประเด็นปัญหา โดยถามสาเหตุของปัญหา ที่ทำให้นักศึกษารู้สึกกลัวและท้อในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะเห็นความยากลำบากของรุ่นพี่ และได้ฟังถึงปัญหาที่รุ่นพี่ได้เผชิญ จนทำให้ตัวเองขาดความมั่นใจและขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จึงได้บอกว่า ทุกคนสามารถจะเผชิญกับปัญหาเรื่องเหล่านี้ได้ และมักจะเป็นกังวลในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะความคิดของตนเอง เราไม่สามารถรู้ได้ว่าอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เมื่อมองเห็นแนวทางที่จะเป็นไปแล้ว เราสามารถเตรียมตัว เตรียมใจของเราเพื่อจะรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น และได้หนุนใจโดยยกข้อพระคัมภีร์ ฮีบรู 11:1 “ความเชื่อคือความมั่นใจในสิ่งที่หวังไว้ เป็นความแน่ใจในสิ่งที่มองไม่เห็น” แม้วันนี้เราอาจจะยังไม่เชื่อมั่นในตนเอง แต่พ่อแม่เชื่อมั่น เชื่อใจในตัวเรา และที่สำคัญพระเจ้าเชื่อมั่นในตัวเราเสมอ รู้จักและรู้ว่าเรามีกำลังในการเผชิญปัญหาได้แค่ไหน เมื่อรู้และเข้าใจถึงสาเหตุปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว จึงได้แนะนำนักศึกษาในการวางแผน แก้ไขปัญหา โดยแนะนำให้ดำเนินชีวิตอยู่กับปัจจุบัน และหนุนใจจากข้อพระคัมภีร์ มัทธิว 6:34 “เพราะฉะนั้น […]

สร้างเสริมการฟังอย่างมีทักษะ

เรียบเรียงโดย อาจารย์อนุชา  มาเรียน ทักษะการฟังเป็นคุณหนึ่งในคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ให้คำปรึกษา จะต้องมีการแสดงออกทั้งทางกาย และอารมณ์ความรู้สึก ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ อีกทั้งสามารถแสดงถึงความเข้าใจ และให้คำแนะนำแก่ผู้ขอรับคำปรึกษา โดยมีแนวทางการสร้างเสริมทักษะดังนี้ มีทักษะการใช้อวัจนะภาษา ได้แก่ ด้านการใช้สายตาที่ดี ควรมีการสบประสานสายตา และการมองหน้าของคู่สนทนาอย่างเป็นธรรมชาติ ด้านการใช้ภาษากายที่ดี ควรนั่งตัวตรงด้วยท่าทีที่ผ่อนคลาย ปล่อยมือ แสดงท่าทางตามจังหวะการสนทนาไปตามธรรมชาติ ตอบสนองด้วยสีหน้าท่าทางและแสดงความสนใจใคร่รู้ และด้านกริยาในการสนทนาที่ดี ควรมีน้ำเสียงที่น่าฟัง ไม่เบาหรือดังเกินไปอีกทั้งสอดคล้องกับอารมณ์และใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย การตอบสนอง เป็นเหมือนกระจกสะท้อนด้วยการพูดซ้ำในสิ่งที่เขาได้พูดไปแล้วซึ่งสะท้อนว่าเขาได้พูดอะไรไปบ้าง ซึ่งจะทำให้เกิดผลสองประการ กล่าวคือประการแรก ทำให้เขารู้ว่าคุณได้ยินและได้ฟัง และประการที่สอง ทำให้เกิดความชัดเจนว่ามีความเข้าใจตรงกัน และจะต้องสรุปความด้วยการพูดซ้ำคำพูดของเขาด้วยคำที่กระชับและแปลความหมายสิ่งที่เขาพูดด้วยภาษาของเราเอง ทั้งนี้จะทำให้มีความเข้าใจในสิ่งที่พูดตรงกันแต่มีความหมายในแนวทางที่หลากหลายมากขึ้น การตอบสนองต่อความรู้สึกจะต้องระบุความรู้สึกที่อยู่เบื้องหลังคำพูดเหล่านั้น และแปลความหมายความรู้สึกเหล่านั้นเป็นคำพูด  อาจเริ่มด้วยประโยคที่ว่า “ฟังดูเหมือนคุณรู้สึกว่า…. หรือ คุณได้พูดแบบนี้ใช่ไหม หรือ ดูคล้ายกับว่า…  และใช้คำพูดที่แสดงถึงความรู้สึก ผู้นำการตอบสนอง เป็นผู้ชักนำให้เข้าเปลี่ยนความคิด ความเชื่อและพฤติกรรม และหนุนใจเขาตามสิ่งที่เขาเสนอแนะทั้งในด้านความคิด ความเชื่อ หรือพฤติกรรม ทั้งนี้มีวิธีการพูด 2 วิธี ได้แก่ การท้าชวน เช่น ทำไมไม่ลองทำดูหล่ะ หรือ การขู่ว่า “ถ้าคุณไม่ลองทำ ก็อาจไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง” และจะต้องมีวิธีการซักถามใช้เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มมากขึ้นซึ่งสามารถใช้ให้บ่อยเท่าที่จะทำได้เพื่อให้จดจ่ออยู่กับประเด็นที่สนทนากันและควรใช้คำถามปลายเปิดจะดีที่สุด  เมื่อต้องให้คำแนะนำ […]

ตัวอย่างการให้คำปรึกษาในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม

นาย สรพงษ์ ศรีบุญไทย                 การให้คำปรึกษาคืออะไร? ในหนังสือ “เจริญเติบโตขึ้น”   เขียนไว้ว่าการให้คำปรึกษามีความหมายง่ายๆ คือ การให้คำแนะนำ หมายถึงการช่วยเหลือ การนำ และการให้ทิศทางแก่บางคนเป็นการส่วนตัว  เป้าหมายของการให้คำปรึกษาประการแรกคือ ผู้รับการ ปรึกษาจะพบคำตอบในปัญหาของเขาและสิ่งที่พระเจ้าทรงปรารถนาให้เขาทำ หลังจากนั้นอย่างที่สอง คือเขาจะต้องทำจริงๆ ฉะนั้นในที่สุดผลของการให้คำปรึกษาคือ มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง (แซม โด เฮอร์ตี้, 2545, หน้า 151) การให้คำปรึกษา หรือ การให้คำแนะนำนั้นมีความสำคัญและมีความจำเป็นมาตั้งแต่ยุคสมัยอดีต เราพบว่ามีบันทึกไว้ว่าคนทั่วไป จนถึงชนชั้นผู้นำ ล้วนแล้วแต่ต้องการคำปรึกษา หรือต้องการมีที่ปรึกษา เพื่อคอยให้คำปรึกษาหรือแนะนำแนวทางต่างๆ ในพระคัมภีร์พบว่ามีบันทึกเรื่องเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาแนะนำเช่นกัน โดยมีความสำคัญก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่สำคัญๆ หลายครั้งในพระคัมภีร์ ในที่นี้ขอยกกรณีตัวอย่างจากพันธสัญญาเดิมในพระธรรมอพยพที่ได้บันทึกเรื่องราวของโมเสสผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกให้เป็นผู้นำชนชาติอิสราเอล ที่ปรึกษาเริ่มแรกของโมเสส คือ พระเจ้า บุคคลที่สอง คือ อาโรน พี่ชายของโมเสสที่พระเจ้าประทานให้เป็นผู้ช่วยและที่ปรึกษาคนสำคัญในการนำชนชาติอิสราเอลออกจากอียิปต์ บุคคลที่สาม คือ เยโธรพ่อตาผู้เป็นปุโรหิตของคนมีเดียน เรื่อง การแนะนำให้โมเสสแต่งตั้งทีมผู้พิพากษาช่วยโมเสสปกครองดูแลประชาชน โดยมีสาระสำคัญคือ ในพระธรรมอพยพ บทที่ […]