ลักษณะที่ปรึกษาตามแบบคริสเตียน

นายสรพงษ์ ศรีบุญไทย พนักงานศาสนกิจ                  การให้คำปรึกษาแบบคริสเตียนนั้นเป็นพันธกิจของคริสเตียนผู้เชื่อในองค์พระเยซูคริสต์ผู้ที่แสวงหาหนทางในการช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต     โดยการให้คำปรึกษานั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อพระวจนะของพระเจ้า ซึ่งมาจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้งพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่   ซึ่งเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิต    ซึ่งในพระคริสตธรรมคัมภีร์นั้นได้บันทึกข้อมูล แนวทาง ข้อแนะนำ  และแนวปฏิบัติที่ดี    ซึ่งสอดคล้องกับการให้คำปรึกษาในประเภทต่างๆ ดังนี้ ประเภท Informative counseling คือ การปรึกษาโดยการให้ความรู้ รวมถึงวิธีปฏิบัติ หรือ การให้คำปรึกษาแบบ Directive counseling  คือ การปรึกษาโดยการชี้แนะแนวทาง หรือ แบบ Advocacy counseling คือ การปรึกษาโดยการให้ข้อมูลเพียงพอที่จะเลือกทางแก้ปัญหาที่มีหลายแบบ และการให้การปรึกษาSupportive counseling คือ การประคับประคองทางจิตใจ จนสงบเพียงพอจะแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง (พนม  เกตุมาน, 2562)   ซึ่งผู้ที่ให้การปรึกษาแบบคริสเตียนสามารถนำแนวทางหรือข้อปฏิบัติไปปรับประยุกต์ใช้ได้ตามบริบท และตามความเหมาะ สม ขึ้นอยู่กับลักษณะของปัญหาและสถานการณ์ของผู้ที่มาขอรับคำปรึกษาแต่ละคน  ในพระธรรม 2 ทิโมธี บทที่ 3 […]

ทักษะเบื้องต้นในการให้คำปรึกษา

ศาสนาจารย์ ดร. พญ. วิจิตรา อัครพิชญธร อนุศาสกและหัวหน้าสำนักศาสนกิจ   การให้คำปรึกษา หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือ ติดต่อสื่อสารกันด้วยวาจาและท่าทางที่เกิดจากสัมพันธภาพทางวิชาชีพของบุคคลอย่างน้อย 2 คน คือ ผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา การให้คำปรึกษาเป็นการช่วยเหลือให้คิดและตัดสินใจแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ด้วยการใช้เทคนิคต่างๆ ของการสร้างความสัมพันธ์ การสื่อสาร การสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน เนื่องจากการให้คำปรึกษาเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่เป็นทั้งผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา ต้องมีระบบระเบียบ มีขั้นตอนในการสร้างความเข้าใจ โดยมีหลักการดังนี้ ผู้ให้คำปรึกษาต้องได้รับการฝึกฝนเพื่อความเชี่ยวชาญมาก่อน ผู้รับคำปรึกษาต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตน ต้องมีความร่วมมือระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา ต้องรักษาจรรยาบรรณของผู้ให้คำปรึกษา ควรอยู่ในบรรยากาศที่เป็นส่วนตัว ต้องมีสัมพันธภาพที่ดีในระดับสูง เพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาเต็มใจเปิดเผยเรื่องราวที่จะปรึกษา เป้าหมายของการให้คำปรึ กษา คือ ช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรม เข้าใจปัญหาความยุ่งยากต่างๆ ของตนเองตามสภาพการณ์ที่เป็นจริง รู้จักคิดและตัดสินใจด้วยตนเองอย่างถูกต้อง สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะในการให้คำปรึกษา คือความสามารถหรือความชำนาญในการสื่อสาร ทั้งการใช้ภาษา ท่าทาง และภาษาพูด ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ให้คำปรึกษาในการช่วยเหลือผู้รับคำปรึกษา ให้มีความไว้วางใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการปรึกษา ให้เข้าใจปัญหา สาเหตุของปัญหา และความต้องการของตัวเอง แสวงหาแนวทางปรับเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดและแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้มีชีวิตที่มีความสุขขึ้น ทักษะเบื้องต้นในการสื่อสารประกอบด้วย ทักษะการใส่ใจ (Attending Skill) ทักษะการนำ (Leading Skill) ทักษะการถาม (Questioning […]

ยุทธวิธีการให้คำปรึกษาหลักคำสอนของพระคัมภีร์กับจิตวิทยา

          โดย.อาจารย์พรพิมล จะหลู               พระคัมภีร์เป็นเครื่องมือและเป็นแนวทางที่สำคัญในการให้คำปรึกษา ที่สามารถช่วยให้เข้าใจถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เป็นหนังสือที่มีชีวิตและให้ชีวิตเป็นประโยชน์และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตที่ทันสมัยอยู่เสมอ ส่วนจิตวิทยาเป็นแนวความคิดที่เกิดจากการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ ความคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อหาคำตอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จนได้มีผู้พยายามในการรวมหลักคำสอนพระคัมภีร์กับจิตวิทยา จึงก่อให้เกิดยุทธวิธีการให้คำปรึกษาหลักพระคัมภีร์อย่างแท้จริงได้ 4 แนวทางดังนี้ แนวทางการแยกจิตวิญญาณออกจากจิตวิทยา เป็นแนวทางว่าด้วยมีกำแพงระหว่างพระคัมภีร์กับจิตวิทยา ต่างฝ่ายต่างจัดการกับปัญหาในขอบเขตของตัวเอง และพระคัมภีร์ใช้ในการจัดการหรือแก้ไขปัญหาทางจิตวิญญาณและทางศาสนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและหลักคำสอนหรือหลักปฏิบัติของคริสเตียน ซึ่งความผิดปกติด้านร่างกาย เช่น ปัญหาสุขภาพกายและจิตนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของคริสเตียน โดยให้เหตุผลว่าพระคัมภีร์ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นตำราแพทย์หรือเป็นแนวทางเพื่อบำบัดรักษาสุขภาพ พระคัมภีร์ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางอารมณ์ จะเห็นว่าการแยกจิตวิญญาณออกจากจิตวิทยามีความเข้าใจว่าพระคัมภีร์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ ทางกายภาพ นั่นคือการไม่ยอมรับในสิทธิอำนาจของพระคัมภีร์ที่มีต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ แนวทางแบบผสมผสาน คือการประสานทัศนะและสิ่งที่มีอยู่ในพระคัมภีร์กับหลักของจิตวิทยา แนวทางนี้พระคัมภีร์ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยใช้ข้อพระคัมภีร์หนุนใจ และหลักคำสอนในพระคัมภีร์ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ ความรัก ความหวัง ความไว้วางใจ ในการให้คำปรึกษามากขึ้น ข้อควรตระหนักของแบบผสมผสานคือ ไม่ได้ยึดหลักในพระคัมภีร์เป็นอันดับแรก แต่นำเอาแนวความคิดของพระคัมภีร์เข้าในความคิดของจิตวิทยา ซึ่งแท้จริงแล้วควรจะเริ่มต้นที่พระคัมภีร์เป็นอันดับแรก แนวทางเข้าใกล้จิตวิญญาณและความเชื่อ เป็นการจัดการกับปัญหาโดยไม่ยอมรับเรื่องจิตวิทยา เพราะจิตวิทยาไม่มีประโยชน์อะไรเลย แต่ยึดหลักการที่ว่าไม่มีอะไรนอกจากรพระคุณ พระคริสต์ ความเชื่อ และพระวจนะ และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากความบาป สามารถหลุดพ้นจากปัญหาได้โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จุดอ่อนของการเข้าใกล้จิตวิญญาณและความเชื่อ 1)การไม่ยอมรับจิตวิทยา ทั้งที่แนวคิดทางจิตวิทยาหลายอย่างมีความสอดคล้องกับพระคัมภีร์และสามารถประยุกต์ใช้ในการให้คำปรึกษาได้ […]

ตัวอย่างการให้คำปรึกษาในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม

นาย สรพงษ์ ศรีบุญไทย                 การให้คำปรึกษาคืออะไร? ในหนังสือ “เจริญเติบโตขึ้น”   เขียนไว้ว่าการให้คำปรึกษามีความหมายง่ายๆ คือ การให้คำแนะนำ หมายถึงการช่วยเหลือ การนำ และการให้ทิศทางแก่บางคนเป็นการส่วนตัว  เป้าหมายของการให้คำปรึกษาประการแรกคือ ผู้รับการ ปรึกษาจะพบคำตอบในปัญหาของเขาและสิ่งที่พระเจ้าทรงปรารถนาให้เขาทำ หลังจากนั้นอย่างที่สอง คือเขาจะต้องทำจริงๆ ฉะนั้นในที่สุดผลของการให้คำปรึกษาคือ มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง (แซม โด เฮอร์ตี้, 2545, หน้า 151) การให้คำปรึกษา หรือ การให้คำแนะนำนั้นมีความสำคัญและมีความจำเป็นมาตั้งแต่ยุคสมัยอดีต เราพบว่ามีบันทึกไว้ว่าคนทั่วไป จนถึงชนชั้นผู้นำ ล้วนแล้วแต่ต้องการคำปรึกษา หรือต้องการมีที่ปรึกษา เพื่อคอยให้คำปรึกษาหรือแนะนำแนวทางต่างๆ ในพระคัมภีร์พบว่ามีบันทึกเรื่องเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาแนะนำเช่นกัน โดยมีความสำคัญก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่สำคัญๆ หลายครั้งในพระคัมภีร์ ในที่นี้ขอยกกรณีตัวอย่างจากพันธสัญญาเดิมในพระธรรมอพยพที่ได้บันทึกเรื่องราวของโมเสสผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกให้เป็นผู้นำชนชาติอิสราเอล ที่ปรึกษาเริ่มแรกของโมเสส คือ พระเจ้า บุคคลที่สอง คือ อาโรน พี่ชายของโมเสสที่พระเจ้าประทานให้เป็นผู้ช่วยและที่ปรึกษาคนสำคัญในการนำชนชาติอิสราเอลออกจากอียิปต์ บุคคลที่สาม คือ เยโธรพ่อตาผู้เป็นปุโรหิตของคนมีเดียน เรื่อง การแนะนำให้โมเสสแต่งตั้งทีมผู้พิพากษาช่วยโมเสสปกครองดูแลประชาชน โดยมีสาระสำคัญคือ ในพระธรรมอพยพ บทที่ […]