ความเป็นมาของการจัดการสารสนเทศด้านประกันคุณภาพการศึกษา

การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยหลังจากที่เกิดพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
จนถึงปัจจุบันเกิดขึ้นหลายครั้ง ซึ่งความมุ่งหวังของการปฏิรูปการศึกษาในทุก ๆ ครั้ง ก็เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อแก้วิกฤตทางการศึกษาที่เกิดขึ้น โดยปัจจุบันถือได้ว่าการศึกษาของประเทศไทยกำลังประสบกับวิกฤตด้านเทคโนโลยีและการบริหารจัดการสมัยใหม่ ตลอดจนล่าสุดประสบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่นเดียวกับการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน หรือการประเมินภายนอกจาก สมศ. ที่ปรับเปลี่ยนจากการประเมินแบบลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม (Site Visit) มาเป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา หรือ Automated QA เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการประเมินภายนอกครบทั้งกระบวนการ โดยปรับการดำเนินงานของผู้ประเมินจากรูปแบบ Paper-based EQA ไปสู่ Digital-based EQA

การการจัดระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาช่วยแก้วิกฤตการพัฒนาการบริหารจัดการแนวใหม่ที่เน้นคุณภาพเข้ากับการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA online) ซึ่งช่วยแก้วิกฤตการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศ ให้เกิดเป็นวัฒนธรรมคุณภาพองค์กรที่เหมาะสมกับยุค New Normal

โพสท์ใน Uncategorized | 2 ความเห็น

คู่มือที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปีการศึกษา 2564

ขอเผยแพร่คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน พ.ศ.2564

จากการเสวนาวิชาการเกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนาตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ระดับคณะวิชา ระดับฝ่ายสนับสนุนวิชาการ และระดับมหาวิทยาลัย โดยมีผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 53 คน  เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2564  สำนักประกันคุณภาพการศึกษาได้นำข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมการเสวนาวิชาการมาปรับปรุงตัวบ่งชี้ให้สอดคล้องตามกระบวนการของพันธกิจการอุดมศึกษาและนำผลลัพธ์ตามมาตรฐานการอุดมศึกษา  พ.ศ. 2561 มานำเสนอเป็นส่วนสุดท้ายของแต่ละพันธกิจ เพื่อให้สะท้อนคุณภาพของการบริหารจัดการได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ และนำเสนอคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยคริสเตียน ในการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2563

โดยได้ปรับปรุงคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยคริสเตียน พ.ศ. 2564 และคู่มือการประกันคุณภาพ การดำเนินงาน ระดับฝ่ายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน พ.ศ. 2564 ให้สอดคล้องตามองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน และเสนอคณะกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยคริสเตียน ในการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และมีมติ กบห.ที่ 39/2563 เห็นชอบคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยคริสเตียน พ.ศ. 2564 และมติ กบห.ที่ 40/2563 เห็นชอบคู่มือการประกันคุณภาพการดำเนินงาน ระดับฝ่ายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัย คริสเตียน พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ สำนักประกันฯ ได้จัดส่งคู่มือทั้งสองฉบับให้คณะวิชาและฝ่ายสนับสนุนวิชาการ เมื่อวันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2564 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะวิชา ระดับฝ่ายสนับสนุนวิชาการ และระดับมหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2563

คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน พ.ศ.2564

คู่มือการประกันคุณภาพการดำเนินงาน ระดับฝ่ายสนับสนุนวิชาการ พ.ศ.2564

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

สรุปแนวทางการปรับปรุงองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษา

ระดับมหาวิทยาลัย

  1. ปรับการเรียงลำดับตามพันธกิจการอุดมศึกษา ประกอบด้วย การผลิดบัณฑิต  การวิจัยและนวัตกรรม การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
  2. เพิ่มตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในที่สอดคล้องกับมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561
  3. ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ ควรนำมากำหนดเป็นตัวบ่งชี้ของระดับมหาวิทยาลัย โดยปรับเกณฑ์การประเมินให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย
  4. ควรปรับเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ที่เป็นตัวบ่งชี้ กระบวนการ ให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น
โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

การเสวนาวิชาการเกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะวิชา ระดับฝ่ายสนับสนุนวิชาการ และระดับมหาวิทยาลัย

ตามที่มหาวิทยาลัยคริสเตียนได้รับข้อเสนอแนะจากการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2562 ในประเด็นเกี่ยวกับการเรียงลำดับตัวบ่งชี้ นั้น คณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยคริสเตียน จึงกำหนดจัดการเสวนาวิชาการเกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะวิชา ระดับฝ่ายสนับสนุนวิชาการ และระดับมหาวิทยาลัย ขึ้น ในวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเรียงลำดับตัวบ่งชี้ ระดับสถาบัน ควรนำเสนอแบบใด

เนื่องจากการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยคริสเตียน ปีการศึกษา 2562 มหาวิทยาลัยคริสเตียนได้รับข้อเสนอแนะคณะกรรมการประเมิน ประเด็น “การเรียงลำดับตัวบ่งชี้ ควรนำเสนอเสนอตามพันธกิจการอุดมศึกษาและนำผลลัพธ์ตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 มาเสนอต่อกันตามพันธกิจการอุดมศึกษา”

สำนักประกันคุณภาพการศึกษาจึงขอความร่วมมือบุคลากรของคณะวิชาและฝ่ายสนับสนุนวิชาการ ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ค่ะ

โพสท์ใน Uncategorized | 1 ความเห็น

แนวปฏิบัติ เรื่อง การใช้ระบบการจัดเก็บเอกสารอ้างอิงดิจิทัลในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ทำให้สามารถจัดการเอกสารได้สะดวกขึ้น การปรับปรุงหรือแก้ไขเอกสารทำได้ง่าย

  1. การใช้ระบบการจัดเก็บเอกสารอ้างอิงดิจิทัลในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ทำให้สามารถจัดการเอกสารได้สะดวกขึ้น การปรับปรุงหรือแก้ไขเอกสารทำได้ง่าย
  2. ลดภาระการสำเนาเอกสารที่ซ้ำซ้อนในกรณีที่เอกสารเหมือนกันในตัวบ่งชี้หรือเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาอื่นที่มีอยู่แล้วในระบบ โดยใช้วิธีการเชื่อมโยงเอกสารผ่านระบบดิจิทัล
  3. ลดพื้นที่การจัดเก็บเอกสาร ประหยัดทรัพยากรกระดาษ เนื่องจากมีระบบการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบเอกสารดิจิทัลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้
  4. การจัดเก็บเอกสารเป็นระบบดิจิทัลจะส่งผลดีในระยะยาว ช่วยลดระยะเวลาและขั้นตอนในการทำงานได้
  5. การสืบค้นเอกสารอ้างอิงตามคำร้องขอของผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน สามารถทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
  6. ป้องกันการสูญหายของเอกสารอ้างอิงในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในได้
โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

จำนวนเอกสารอ้างอิงในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยคริสเตียนมีจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุให้ไม่สะดวกต่อการตรวจสอบของผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน

จากการสรุปจำนวนเอกสารอ้างอิงที่ใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยคริสเตียนแล้ว พบว่า มีจำนวนมากและเอกสารบางรายการที่ซ้ำซ้อนต้องสำเนาเพิ่ม เพื่อให้สะดวกต่อการตรวจสอบของผู้ประเมิน   ดังนั้นจึงต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเอกสารอ้างอิงที่ใช้ในการประเมินคุณภาพฯ โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักบริการดิจิทัลเพื่อการศึกษาในการจัดทำระบบการจัดเก็บเอกสารอ้างอิงดิจิทัล

โพสท์ใน Uncategorized | 1 ความเห็น

Hello world!

Welcome to WordPress. This is your first post. Edit or delete it, then start writing!

copisced-fields-of-education-and-training-2013-en

โพสท์ใน Uncategorized | 1 ความเห็น

การเขียนรายงานการประเมินคุณภาพ (SQAR)

ขอเชิญบุคลากรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเด็น “การเขียนรายงานการประเมินคุณภาพ (SQAR)”

โพสท์ใน กิจกรรมของชุมชน | 3 ความเห็น

แนวปฏิบัติในการจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยคริสเตียน

ดาวน์โหลด   แนวปฏิบัติในการจัดทำ SQAR

โพสท์ใน กิจกรรมของชุมชน | ใส่ความเห็น