การเริ่มต้นโดยใช้คำว่า “ตาม” “ตามที่” หรือ “อนุสนธิ”

การใช้คำว่า “ตาม” “ตามที่” หรือ  “อนุสนธิ”
จะใช้ในกรณีใด

“ตาม” “ตามที่” หรือ “อนุสนธิ” ใช้ในกรณีที่เคยมีเรื่องติดต่อหรือรับรู้กันมาก่อน

ตัวอย่าง…ตามหนังสือที่อ้างถึง กรมส่งเสริมการเกษตรขอใช้ห้องฝึกอบรมของกรมวิชาการเกษตร เพื่อจัดการฝึกอบรมหลักสูตรการเขียนหนังสือราชการระหว่างวันที่…………..นั้น 
                  กรมวิชาการเกษตร ยินดีให้กรมส่งเสริมการเกษตรใช้ห้องฝึกอบรมตามที่ขอไป

ตัวอย่าง… ตามที่มีข่าวในหนังสือพิมพ์ว่า…………………………………………………นั้น
                    กรม…..ได้สอบสวนแล้ว ปรากฎว่าไม่มีมูลความจริงตามที่หนังสือพิมพ์ลงข่าวแต่ประการใด

ตัวอย่าง… อนุสนธิมติ ก.พ. ในการประชุมครั้งที่……เมื่อวันที่…………….มอบให้ท่านรับเรื่อง………..ไปตรวจพิจารณาเสนอความเห็น นั้น

                    บัดนี้ เวลาล่วงเลยมานานแล้ว สำนักงาน ก.พ. ยังไม่ได้รับความเห็นของท่านในเรื่องดังกล่าว จึง…………………..

 

ที่มา: 1. การเขียนหนังสือราชการ: ความรู้พื้นฐานในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ. (2560). https://www.ocsc.go.th/download/2560/การเขียนหนังสือราชการ-ebook [สืบค้นวันที่ 28 เมษายน 2563]
2. ศิลปะการเขียนหนังสือราชการ.https://www.opsmoac.go.th/km-km_org_center-files-391991791026 [สืบค้นวันที่ 29 เมษายน 2563]

การเขียนหนังสือติดต่อราชการ: การใช้คำว่า “ด้วย” หรือ “เนื่องจาก”

การใช้คำ “ด้วย” หรือ “เนื่องจาก”

การขึ้นต้นโดยใช้คำว่า “ด้วย” หรือ “เนื่องจาก” ใช้ในกรณีที่เป็นเรื่องใหม่ ซึ่งไม่เคยติดต่อหรือรับรู้กันมาก่อน ระหว่างผู้มีหนังสือไปกับผู้รับหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนั้น เช่น

ที่มา: การเขียนหนังสือราชการ: ความรู้พื้นฐานในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ. (2560). https://www.ocsc.go.th/download/2560/การเขียนหนังสือราชการ-ebook [สืบค้นวันที่ 13 ม.ค. 2563]

 

เนื้อเรื่องของหนังสือภายนอกและหนังสือภายใน

เนื้อเรื่องของหนังสือภายนอกและหนังสือภายใน

เนื้อเรื่องของหนังสือภายนอกและภายใน คือ ข้อความที่มีผู้มีหนังสือไปแจ้งไปยังผู้รับหนังสือ ซึ่งเขียนย่อหน้าต่อจาก “คำขึ้นต้น” อาจเป็นข้อความตอนเดียว หรือ 2 ตอน หรือ 3 ตอน แล้วแต่กรณี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สาระสำคัญของเนื้องเรื่องจะกล่าวถึงเหตุที่มีหนังสือไปตอนเดียว หรือเหตุที่มีหนังสือไปตอนหนึ่งและเรื่องต่อเนื่อง หรือเรี่องต่อเนื่องกับผลของเรื่องนั้นอีกตอนหนึ่งก็ได้
“เนื้อเรื่อง” ของหนังสือภายนอกและหนังสือภายใน จะเริ่มต้นด้วยการอ้างเหตุที่มีหนังสือไป

สาเหตุของหนังสือ ประกอบด้วย สาเหตุที่ต้องมีหนังสือไป และเรื่องต่อเนื่อง
1. สาเหตุที่ต้องมีหนังสือไป
ด้วย…………………………………….
เนื่องจาก……………………………..
ตาม…………………………………… นั้น
ตามที่…………………………………. นั้น
อนุสนธิ………………………………. นั้น
2. เรื่องต่อเนื่อง
ได้ดำเนินการต่อไปอย่างไร……..
ผลของการดำเนินการ……………

การใช้ถ้อยคำและวรรคตอนของเนื้อเรื่อง
เหตุที่มีหนังสือไป จะขึ้นต้นด้วยคำหนึ่งดังต่อไปนี้

อ้างอิงจาก : 

  1. ศิลปะการเขียนหนังสือราชการ.https://www.opsmoac.go.th/km-km_org_center-files-391991791026 [สืบค้นวันที่ 9 พ.ค. 2562]
  2. การเขียนหนังสือราชการ: ความรู้พื้นฐานในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ. (2560). https://www.ocsc.go.th/download/2560/การเขียนหนังสือราชการ-ebook [สืบค้นวันที่ 13 ม.ค. 2563]

การเขียน “อ้างถึง” และ “สิ่งที่ส่งมาด้วย”

หลักการเขียน “อ้างถึง”

  1. ให้อ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันมาก่อนแล้วทุกครั้ง โดยให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือ และเลขที่หนังสือ วันที่ เดือน ปีพุทธศักราช ของหนังสือนั้น
  2. ให้อ้างถึงหนังสือฉบับสุดท้ายที่เคยติดต่อกันเพียงฉบับเดียว  เว้นแต่มีเรื่องอื่นที่เป็นสาระสำคัญต้องนำมาพิจารณา

หลักการเขียน “สิ่งที่ส่งมาด้วย”

  1. ให้เขียนชื่อสิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร ที่ส่งไปพร้อมกับหนังสือนั้น
  2. ในกรณีที่ไม่สามารถส่งไปในซองเดียวกันได้ ให้แจ้งด้วยว่าส่งไปโดยทางใด
 การเขียน “อ้างถึง”

ในการเขียนส่วนอ้างถึง จะใช้ในกรณีที่มีการติดต่อกันมาก่อนหน้านี้ เพื่อเป็นการ เท้าความเดิมหรืออ้างอิงที่มา จะได้ไม่ต้องกล่าวซ้ำอีก โดยต้องระบุชื่อหน่วยงานที่อ้างถึงชั้นความลับ (ถ้ามี) ชั้นความเร็ว (ถ้ามี) เลขที่หนังสือ ลงวันที่ของหนังสือที่อ้างถึง ตามลำดับ

การเขียนอ้างถึง ในส่วนหัวของหนังสือภายนอก

อ้างถึง หนังสือกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ ๑๒๓๔.๕/๖๗ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘

การเขียนอ้างถึงที่ระบุชั้นความเร็ว ในส่วนหัวของหนังสือภายนอก

อ้างถึง หนังสือกระทรวงสาธารณสุข ด่วนมาก ที่ สธ ๑๒๓๔/๕๖ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘

การเขียนอ้างถึงที่ระบุชั้นความเร็ว และชั้นความลับ ตามลำดับในส่วนหัวของหนังสือภายนอก

อ้างถึง หนังสือกระทรวงสาธารณสุข ลับมาก ด่วนที่สุด ที่ กค ๑๒๓๔/๕ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘

การเขียนอ้างถึงหนังสือของศาลากลางจังหวัด ในส่วนหัวของหนังสือภายนอก

อ้างถึง หนังสือจังหวัดเชียงใหม่ ที่ ชม ๐๐๐๑/๑๒๓๔ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘
(ไม่นิยม ใส่ศาลากลางจังหวัดเพราะเป็นสถานที่ราชการ)
การเขียน “สิ่งที่ส่งมาด้วย”(หนังสือภายนอก)     

      การเขียนสิ่งที่ส่งมาด้วย  สิ่งที่ส่งมาด้วย ใช้กับหนังสือภายนอก เท่านั้น และต้องระบุจำนวนที่ชัดเจนด้วย
      สำหรับหนังสือภายใน หรือบันทึก จะใช้ เอกสารแนบ

การเขียน “สิ่งที่ส่งมาด้วย” มีวิธีการดังนี้
1. ให้ระบุว่าเป็นเอกสารหรือสิ่งใด จำนวนเท่าใด
2. หากเป็นเอกสาร ควรระบุประเภทว่าเป็นเอกสารอะไร จำนวนเท่าใด
3. ลักษณะนามที่ใช้ให้สะท้อนลักษณะหรือรูปแบบของสิ่งที่ส่งมาด้วยอย่างชัดเจน กรณี เป็นเอกสาร งดใช้ “ฉบับหรือชุด” เพื่อสะดวกแก่การตรวจนับ ดังตัวอย่าง

 สิ่งที่ส่งมาด้วย  ๑. รายงานการประชุม ๕ ส จํานวน ๓ แผ่น
              ๒. โปสเตอร์รณรงค์ ๕ ส จํานวน ๕ แผ่น
              ๓. หนังสือคู่มือ ๕ ส จํานวน ๑ เล่ม

4. ในการเขียนส่วนเนื้อหา หากมีเนื้อความที่กล่าวถึงสิ่งที่ส่งมาด้วย ควรเขียนเชื่อมโยง
ถึงกันเพื่อความชัดเจนด้วย เช่น
     มหาวิทยาลัยขอส่งรายงานการประชุมมาเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ โดยขอให้ติดโปสเตอร์รณรงค์ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๒ และหากมีข้อสงสัย

อ้างอิงจาก : 

1.       การเขียนจดหมายราชการ.https://stang.sc.mahidol.ac.th/kb/?p=434 [สืบค้นวันที่ 21 ม.ค. 2562]
2.       เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ. http://www.ubu.ac.th/web/files_up/82f2017 060810445660.pdf [สืบค้นวันที่ 24 เม.ย. 2562]
3.       สำนักงานเลขานุการกรม.คู่มือการเขียนหนังสือราชการของกรมสุขภาพจิต. https://secret.dmh.go.th/news/files/การเขียนหนังสือราชการ.pdf [สืบค้นวันที่ 19 พ.ย. 2562]

 

แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การเสนอเอกสารและการรับเอกสาร

ประเด็น / ปัญหา 

  • การนำเสนอเอกสารต่อผู้บริหารอย่างไรให้ทันต่อเวลา
  • ลดการสูญหายของเอกสาร

แนวปฏิบัติ

  1. การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการนำเสนอเอกสารต่อผู้บริหารให้ทันต่อระยะเวลาที่กำหนด
  2. การจัดทำฐานข้อมูลการรับ-ส่ง เอกสารโดยการบันทึกข้อมูลของเอกสาร และแสกนเอกสารบันทึกเป็นไฟล์ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อความเร็วในการค้นหาเอกสาร และลดการสูญหาย

ตัวอย่างหนังสือขอความช่วยเหลือ (เชิญเป็นวิทยากร)

หนังสือขอความช่วยเหลือ หมายถึง หนังสือที่มีถึง ส่วนราชการ สมาคม มูลนิธิ บริษัทห้างร้านเอกชน หรือบุคคลภายนอก ซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกัน ขอให้เขาช่วยเหลืออย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ขอให้มาบรรยาย ขอให้ช่วยเหลือทางการเงิน ขอให้ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ เป็นต้น การเขียนหนังสือขอความช่วยเหลือที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ จะต้องเขียนลำดับเนื้อความให้เชื่อมโยงเรื่องราวและเหตุผลสัมพันธ์กัน สอดคล้องกันตลอดเรื่อง และสมเหตุสมผลดีด้วย โดยใช้ลำดับเนื้อความดังนี้

1. บอกความจำเป็นหรือความต้องการของเรา
2. ยกย่องภูมิธรรมและคุณธรรมของเขา
3. ชี้ผลอันน่าภูมิใจที่เขาจะได้รับหากได้ช่วยเรา
4. ขอความกรุณาช่วยเหลือจากเขา
5. ตั้งความหวังว่า จะได้รับความกรุณาช่วยเหลือ จึงขอขอบคุณล่วงหน้า

ตัวอย่าง

เรื่อง ขอเชิญเป็นวิทยากร

เรียน  นาย………….

(ตำแหน่ง)

สิ่งที่ส่งมาด้วย โครงการฝึกอบรมหลักสูตร……………

ด้วยศูนย์…………….ได้จัดการฝึกอบรมหลักสูตร…………..ตามโครงการที่แนบมานี้ ในการนี้ได้กำหนดให้มีการบรรยายวิชา……………เป็นวิชาสำคัญมากวิชาหนึ่งด้วย ซึ่งการบรรยายวิชานี้จะต้องได้ผู้มีความรู้และประสบการณ์สูงในเรื่อง……………..เป็นวิทยากร จึงจะได้ผลตามจุดมุ่งหมาย

ศูนย์…………ได้พิจารณาเห็นว่า ท่านเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์สูงมากในเรื่อง………ถ้าได้ท่านเป็นผู้บรรยายวิชา………….ก็จะเป็นที่เชื่อมั่นได้ว่า การฝึกอบรมวิชานี้จะได้ผลบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจะอำนวยประโยชน์มากทั้งแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นส่วนตัวและแก่ทางราชการเป็นส่วนรวม

จึงเรียนเชิญมาเพื่อขอท่านได้โปรดสละเวลาไปเป็นวิทยากรบรรยายในการฝึกอบรมวิชา………ในวันที่……………เวลา………ณ………ทั้งนี้ ศูนย์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับความกรุณาจากท่านในการไปเป็นวิทยากรตามที่เรียนเชิญมานี้ จึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้

ที่มา
เอกสาร(ออนไลน์).สืบค้นจาก: http://oknation.nationtv.tv/blog/anegsangsoog/2010/05/18/entry-3 [1 พ.ย. 2561]

การเริ่มเลขที่หนังสือภายใน

การเริ่มเลขที่หนังสือภายใน

กลุ่มงานบริหารทั่วไปขอแจ้งผู้ปฏิบัติงานด้านสารบรรณทุกท่าน  ในวันที่1 กันยายน พ.ศ. 2561 เป็นการเริ่มปีการศึกษา 2561 ดังนั้น  ขอแจ้งการเริ่มเลขหนังสือภายในใหม่ ขอความร่วมมือผู้ปฏิบัติงานสารบรรณของทุกคณะวิชาและฝ่ายสนับสนุนวิชาการดำเนินการให้ถูกต้องด้วยนะคะ  รายละเอียดดังนี้

      1)  เริ่มเลขที่หนังสือออกภายในใหม่ ที่ เลขประจำส่วนงาน/คณะวิชา / 0001 / 2561           

ตัวอย่าง  “ที่ ฝบท.001/2561   ลงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561”

      2)  เริ่มเลขที่ลงรับเอกสารของสมุดบันทึกรับ-ส่งเอกสาร ปีการศึกษา2561 เริ่มลำดับที่ “1”

      3)  การกำหนดเลขที่ครั้งการประชุมต่างๆ เป็นปีการศึกษา 2561

     ตัวอย่าง  “ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยคริสเตียน สมัยสามัญครั้งที่ 1/2561”

     ขอให้มีความสุขกับการเริ่มปีการศึกษาใหม่ค่ะ

ตัวอย่าง รูปแบบหนังสือขอรับการสนับสนุน/ขอความอนุเคราะห์

วันนี้มีตัวอย่างรูปแบบจดหมายขอรับการสนับสนุน/ขอความอนุเคราะห์มาฝาก หากใครที่นึกไม่ออกว่าหน้าตาของจดหมายจะเป็นอย่างไร เราเลยมีตัวอย่างรูปแบบคร่าวๆ ที่อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ สมาชิกค่ะ

 

(Download)

ภาษาที่ใช้ในการเขียนจดหมายเพื่อกิจธุระ

สวัสดีค่ะ  จากครั้งที่แล้วได้พูดถึงจดหมายกิจธุระ ครั้งนี้จึงมาพูดในเรื่องหลักๆ ของภาษาที่ใช้ในการเขียนจดหมายเพื่อกิจธุระนะคะ ตามนี้ค่ะ

(Full Download)