แนวปฏิบัติการประสานงานในการปฏิบัติงาน ว่าด้วยเรื่อง “องค์ประกอบการประสานงาน” และ”รูปแบบการประสานงาน”
คุณสมบัติการเป็นนักประสานงานที่ดี
ชุมชนปฏิบัติการบริหารงานบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ ขอแบ่งปันแนวคิดเกี่ยวกับคุณสมบัติการเป็นนักประสานงานที่ดี บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการจะเป็นผู้ประสานงานที่ดีควรคำนึงถึงหลักการ ดังนี้
ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนปฏิบัติการบริหารงานบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ ปีการศึกษา 2567
ปีการศึกษา 2567 ชุมชนปฏิบัติการบริหารงานบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ นำเสนอประเด็นเรื่อง “การประสานงาน” ในมหาวิทยาลัยคริสเตียน เป็นประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เนื่องจากการประสานงานมีส่วนสำคัญต่อการบริหารโครงการหรือกิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้น การมีการประสานงานที่ดี จึงจะช่วยให้สมาชิกสามารถปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
แนวปฏิบัติ “การสอนงานในสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยคริสเตียน”
ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปีการศึกษา 2566 “การสอนงาน”
ปีการศึกษา 2566 สำนักบริหารงานบุคคล ได้กำหนดประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ “การสอนงาน” ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ จึงขอแบ่งปันความรู้ที่รวบรวมมาได้จากแหล่งข้อมูล หลังจากนี้จะมีการรวบรวมความรู้จากสมาชิกชุมชนโดยการสัมภาษณ์หัวหน้างานเกี่ยวกับวิธีการถ่ายทอดความรู้ในการสอนงาน และสำรวจความคิดเห็นจากสมาชิกของชุมชนโดยแบบสอบถามต่อไป
เสวนาวิชาการ “การนำแนวคิดการปฏิบัติงานหมุนเวียนมาใช้ในส่วนงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ”
สำนักบริหารงานบุคคล จัดการเสวนาวิชาการ เรื่อง การนำแนวคิดการปฏิบัติงานหมุนเวียนมาใช้ในส่วนงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ เมื่อวันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 09.00-10.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ มีผู้เข้าร่วมเสวนาวิชาการฯ จำนวน 65 คน ในการนี้ได้มีการเผยแพร่บทความวิชาการ ซึ่งเป็นผลผลิตของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปีการศึกษา 2565 เรื่อง “การปฏิบัติงานหมุนเวียนของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยคริสเตียน : การแลกเปลี่ยนแนวความคิดจากชุมชนการปฏิบัติการบริหารงานบุคคล” ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสาร Mahidol R2R e-Journal ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน-ธันวาคม 2565
ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปีการศึกษา 2565
ปีการศึกษา 2565 สำนักบริหารงานบุคคล โดยกลุ่มงานนิติการ ได้กำหนดประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การบริหารและจัดการข้อมูลส่วนบุคคล” ในแต่และส่วนงาน โดยจะมีการประสานงานไปยังทุกส่วนงานเพื่อทำการสำรวจข้อมูลส่วนบุคคลที่แต่ละส่วนงานดำเนินการจัดเก็บ โดยบันทึกลงในแบบฟอร์ม พร้อมกับระบุวิธีการบริหารและจัดการข้อมูล เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะได้นำมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำเป็นแนวปฏิบัติสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของมหาวิทยาลัยฯ ต่อไป