ลักษณะที่ปรึกษาตามแบบคริสเตียน

นายสรพงษ์ ศรีบุญไทย พนักงานศาสนกิจ                  การให้คำปรึกษาแบบคริสเตียนนั้นเป็นพันธกิจของคริสเตียนผู้เชื่อในองค์พระเยซูคริสต์ผู้ที่แสวงหาหนทางในการช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต     โดยการให้คำปรึกษานั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อพระวจนะของพระเจ้า ซึ่งมาจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้งพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่   ซึ่งเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิต    ซึ่งในพระคริสตธรรมคัมภีร์นั้นได้บันทึกข้อมูล แนวทาง ข้อแนะนำ  และแนวปฏิบัติที่ดี    ซึ่งสอดคล้องกับการให้คำปรึกษาในประเภทต่างๆ ดังนี้ ประเภท Informative counseling คือ การปรึกษาโดยการให้ความรู้ รวมถึงวิธีปฏิบัติ หรือ การให้คำปรึกษาแบบ Directive counseling  คือ การปรึกษาโดยการชี้แนะแนวทาง หรือ แบบ Advocacy counseling คือ การปรึกษาโดยการให้ข้อมูลเพียงพอที่จะเลือกทางแก้ปัญหาที่มีหลายแบบ และการให้การปรึกษาSupportive counseling คือ การประคับประคองทางจิตใจ จนสงบเพียงพอจะแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง (พนม  เกตุมาน, 2562)   ซึ่งผู้ที่ให้การปรึกษาแบบคริสเตียนสามารถนำแนวทางหรือข้อปฏิบัติไปปรับประยุกต์ใช้ได้ตามบริบท และตามความเหมาะ สม ขึ้นอยู่กับลักษณะของปัญหาและสถานการณ์ของผู้ที่มาขอรับคำปรึกษาแต่ละคน  ในพระธรรม 2 ทิโมธี บทที่ 3 […]

ทักษะเบื้องต้นในการให้คำปรึกษา

ศาสนาจารย์ ดร. พญ. วิจิตรา อัครพิชญธร อนุศาสกและหัวหน้าสำนักศาสนกิจ   การให้คำปรึกษา หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือ ติดต่อสื่อสารกันด้วยวาจาและท่าทางที่เกิดจากสัมพันธภาพทางวิชาชีพของบุคคลอย่างน้อย 2 คน คือ ผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา การให้คำปรึกษาเป็นการช่วยเหลือให้คิดและตัดสินใจแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ด้วยการใช้เทคนิคต่างๆ ของการสร้างความสัมพันธ์ การสื่อสาร การสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน เนื่องจากการให้คำปรึกษาเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่เป็นทั้งผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา ต้องมีระบบระเบียบ มีขั้นตอนในการสร้างความเข้าใจ โดยมีหลักการดังนี้ ผู้ให้คำปรึกษาต้องได้รับการฝึกฝนเพื่อความเชี่ยวชาญมาก่อน ผู้รับคำปรึกษาต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตน ต้องมีความร่วมมือระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา ต้องรักษาจรรยาบรรณของผู้ให้คำปรึกษา ควรอยู่ในบรรยากาศที่เป็นส่วนตัว ต้องมีสัมพันธภาพที่ดีในระดับสูง เพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาเต็มใจเปิดเผยเรื่องราวที่จะปรึกษา เป้าหมายของการให้คำปรึ กษา คือ ช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรม เข้าใจปัญหาความยุ่งยากต่างๆ ของตนเองตามสภาพการณ์ที่เป็นจริง รู้จักคิดและตัดสินใจด้วยตนเองอย่างถูกต้อง สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะในการให้คำปรึกษา คือความสามารถหรือความชำนาญในการสื่อสาร ทั้งการใช้ภาษา ท่าทาง และภาษาพูด ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ให้คำปรึกษาในการช่วยเหลือผู้รับคำปรึกษา ให้มีความไว้วางใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการปรึกษา ให้เข้าใจปัญหา สาเหตุของปัญหา และความต้องการของตัวเอง แสวงหาแนวทางปรับเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดและแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้มีชีวิตที่มีความสุขขึ้น ทักษะเบื้องต้นในการสื่อสารประกอบด้วย ทักษะการใส่ใจ (Attending Skill) ทักษะการนำ (Leading Skill) ทักษะการถาม (Questioning […]

ยุทธวิธีการให้คำปรึกษาหลักคำสอนของพระคัมภีร์กับจิตวิทยา

          โดย.อาจารย์พรพิมล จะหลู               พระคัมภีร์เป็นเครื่องมือและเป็นแนวทางที่สำคัญในการให้คำปรึกษา ที่สามารถช่วยให้เข้าใจถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เป็นหนังสือที่มีชีวิตและให้ชีวิตเป็นประโยชน์และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตที่ทันสมัยอยู่เสมอ ส่วนจิตวิทยาเป็นแนวความคิดที่เกิดจากการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ ความคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อหาคำตอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จนได้มีผู้พยายามในการรวมหลักคำสอนพระคัมภีร์กับจิตวิทยา จึงก่อให้เกิดยุทธวิธีการให้คำปรึกษาหลักพระคัมภีร์อย่างแท้จริงได้ 4 แนวทางดังนี้ แนวทางการแยกจิตวิญญาณออกจากจิตวิทยา เป็นแนวทางว่าด้วยมีกำแพงระหว่างพระคัมภีร์กับจิตวิทยา ต่างฝ่ายต่างจัดการกับปัญหาในขอบเขตของตัวเอง และพระคัมภีร์ใช้ในการจัดการหรือแก้ไขปัญหาทางจิตวิญญาณและทางศาสนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและหลักคำสอนหรือหลักปฏิบัติของคริสเตียน ซึ่งความผิดปกติด้านร่างกาย เช่น ปัญหาสุขภาพกายและจิตนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของคริสเตียน โดยให้เหตุผลว่าพระคัมภีร์ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นตำราแพทย์หรือเป็นแนวทางเพื่อบำบัดรักษาสุขภาพ พระคัมภีร์ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางอารมณ์ จะเห็นว่าการแยกจิตวิญญาณออกจากจิตวิทยามีความเข้าใจว่าพระคัมภีร์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ ทางกายภาพ นั่นคือการไม่ยอมรับในสิทธิอำนาจของพระคัมภีร์ที่มีต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ แนวทางแบบผสมผสาน คือการประสานทัศนะและสิ่งที่มีอยู่ในพระคัมภีร์กับหลักของจิตวิทยา แนวทางนี้พระคัมภีร์ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยใช้ข้อพระคัมภีร์หนุนใจ และหลักคำสอนในพระคัมภีร์ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ ความรัก ความหวัง ความไว้วางใจ ในการให้คำปรึกษามากขึ้น ข้อควรตระหนักของแบบผสมผสานคือ ไม่ได้ยึดหลักในพระคัมภีร์เป็นอันดับแรก แต่นำเอาแนวความคิดของพระคัมภีร์เข้าในความคิดของจิตวิทยา ซึ่งแท้จริงแล้วควรจะเริ่มต้นที่พระคัมภีร์เป็นอันดับแรก แนวทางเข้าใกล้จิตวิญญาณและความเชื่อ เป็นการจัดการกับปัญหาโดยไม่ยอมรับเรื่องจิตวิทยา เพราะจิตวิทยาไม่มีประโยชน์อะไรเลย แต่ยึดหลักการที่ว่าไม่มีอะไรนอกจากรพระคุณ พระคริสต์ ความเชื่อ และพระวจนะ และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากความบาป สามารถหลุดพ้นจากปัญหาได้โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จุดอ่อนของการเข้าใกล้จิตวิญญาณและความเชื่อ 1)การไม่ยอมรับจิตวิทยา ทั้งที่แนวคิดทางจิตวิทยาหลายอย่างมีความสอดคล้องกับพระคัมภีร์และสามารถประยุกต์ใช้ในการให้คำปรึกษาได้ […]

สรุปองค์ความรู้ใหม่จาก CoP การให้คำปรึกษาของสำนักศาสนกิจในปีการศึกษา 2560

สรุปได้ว่า่ จากการจัดการความรู้ในชุมชนนักปฏิบัติด้านการให้คำปรึกษาฯ ได้องค์ความรู้ใหม่ดังนี้ ผู้ให้คำปรึกษา ควรมีทักษะในการฟังที่ดี สังเกตอวจนภาษา รู้จักตอบสนองและสรุปความ ท้าชวน ซักถาม และเสนอทางเลือกแก่ผู้รับคำปรึกษา เป้าหมายในการให้คำปรึกษา คือ การดูแลรักษาจิตวิญญาณ จิตใจ และร่างกาย อย่างเป็นองค์รวม ขั้นตอนในการให้คำปรึกษา เริ่มตั้งแต่การสร้างความสัมพันธ์ สำรวจปัญหา หาสาเหตุของปัญหา วางแนวทางแก้ไข ร่วมกัน หนุนใจด้วยพระวจนะ เสนอแนวทางแก้ไขตามพระคัมภีร์ อธิษฐานร่วมกัน ขอพระเจ้าทรงช่วยเหลือ ตัวอย่างในพระคัมภีร์เดิม คือ การให้คำปรึกษาของเยโธร พ่อตาของโมเสส แก่โมเสส ในด้านการแก้ปัญหาภาระงานปกครองที่มากเกินกำลัง โดยการแบ่งประชากรเป็นหมวดหมู่ แล้วตั้งผู้นำที่ยำเกรงพระเจ้าและไว้ใจได้ ให้เป็นผู้ปกครองดูแล เพื่อผ่อนภาระของโมเสส การเยียวยาผู้ที่อยู่ในความโศกเศร้า เน้นการฟังการระบายความทุกข์ ช่วยให้ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น อ่านหนังสือบทเพลงคร่ำครวญของเยเรมีย์ อธิษฐานตามบทเพลง ให้ความหวัง หนุนใจให้เริ่มต้นใหม่ สู่อนาคตที่ดี ศจ.ดร. พญ. วิจิตรา อัครพิชญธร อนุศาสก และหัวหน้าสำนักศาสนกิจ

บันทึกการให้คำปรึกษานักศึกษารายบุคคล

ปีการศึกษา : 2560    วัน เดือน ปี : 21 เมษายน 2561 ชื่อผู้ให้คำปรึกษา : นางสาวพรพิมล จะหลู                              ปัญหาที่พบ นักศึกษาไม่มีความมั่นใจ และเชื่อมั่นในตัวเองว่าจะสามารถเรียนให้จบได้หรือไม่ เนื่องจากเห็นรุ่นพี่เรียนหนักและทำงานหนัก จึงคิดว่าตัวเองคงจะทำไม่ได้ ทำให้รู้สึกกลัว ท้อและไม่มีกำลังใจในการเรียน เพราะเป็นคนเรียนไม่เก่ง กระบวนการให้คำปรึกษา เริ่มต้นด้วยการสร้างสัมพันธ์ ส้รางบรรยากาศเป็นกันเองและไว้วางใจ และเข้าสู่ประเด็นปัญหา โดยถามสาเหตุของปัญหา ที่ทำให้นักศึกษารู้สึกกลัวและท้อในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะเห็นความยากลำบากของรุ่นพี่ และได้ฟังถึงปัญหาที่รุ่นพี่ได้เผชิญ จนทำให้ตัวเองขาดความมั่นใจและขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จึงได้บอกว่า ทุกคนสามารถจะเผชิญกับปัญหาเรื่องเหล่านี้ได้ และมักจะเป็นกังวลในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะความคิดของตนเอง เราไม่สามารถรู้ได้ว่าอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เมื่อมองเห็นแนวทางที่จะเป็นไปแล้ว เราสามารถเตรียมตัว เตรียมใจของเราเพื่อจะรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น และได้หนุนใจโดยยกข้อพระคัมภีร์ ฮีบรู 11:1 “ความเชื่อคือความมั่นใจในสิ่งที่หวังไว้ เป็นความแน่ใจในสิ่งที่มองไม่เห็น” แม้วันนี้เราอาจจะยังไม่เชื่อมั่นในตนเอง แต่พ่อแม่เชื่อมั่น เชื่อใจในตัวเรา และที่สำคัญพระเจ้าเชื่อมั่นในตัวเราเสมอ รู้จักและรู้ว่าเรามีกำลังในการเผชิญปัญหาได้แค่ไหน เมื่อรู้และเข้าใจถึงสาเหตุปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว จึงได้แนะนำนักศึกษาในการวางแผน แก้ไขปัญหา โดยแนะนำให้ดำเนินชีวิตอยู่กับปัจจุบัน และหนุนใจจากข้อพระคัมภีร์ มัทธิว 6:34 “เพราะฉะนั้น […]

สร้างเสริมการฟังอย่างมีทักษะ

เรียบเรียงโดย อาจารย์อนุชา  มาเรียน ทักษะการฟังเป็นคุณหนึ่งในคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ให้คำปรึกษา จะต้องมีการแสดงออกทั้งทางกาย และอารมณ์ความรู้สึก ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ อีกทั้งสามารถแสดงถึงความเข้าใจ และให้คำแนะนำแก่ผู้ขอรับคำปรึกษา โดยมีแนวทางการสร้างเสริมทักษะดังนี้ มีทักษะการใช้อวัจนะภาษา ได้แก่ ด้านการใช้สายตาที่ดี ควรมีการสบประสานสายตา และการมองหน้าของคู่สนทนาอย่างเป็นธรรมชาติ ด้านการใช้ภาษากายที่ดี ควรนั่งตัวตรงด้วยท่าทีที่ผ่อนคลาย ปล่อยมือ แสดงท่าทางตามจังหวะการสนทนาไปตามธรรมชาติ ตอบสนองด้วยสีหน้าท่าทางและแสดงความสนใจใคร่รู้ และด้านกริยาในการสนทนาที่ดี ควรมีน้ำเสียงที่น่าฟัง ไม่เบาหรือดังเกินไปอีกทั้งสอดคล้องกับอารมณ์และใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย การตอบสนอง เป็นเหมือนกระจกสะท้อนด้วยการพูดซ้ำในสิ่งที่เขาได้พูดไปแล้วซึ่งสะท้อนว่าเขาได้พูดอะไรไปบ้าง ซึ่งจะทำให้เกิดผลสองประการ กล่าวคือประการแรก ทำให้เขารู้ว่าคุณได้ยินและได้ฟัง และประการที่สอง ทำให้เกิดความชัดเจนว่ามีความเข้าใจตรงกัน และจะต้องสรุปความด้วยการพูดซ้ำคำพูดของเขาด้วยคำที่กระชับและแปลความหมายสิ่งที่เขาพูดด้วยภาษาของเราเอง ทั้งนี้จะทำให้มีความเข้าใจในสิ่งที่พูดตรงกันแต่มีความหมายในแนวทางที่หลากหลายมากขึ้น การตอบสนองต่อความรู้สึกจะต้องระบุความรู้สึกที่อยู่เบื้องหลังคำพูดเหล่านั้น และแปลความหมายความรู้สึกเหล่านั้นเป็นคำพูด  อาจเริ่มด้วยประโยคที่ว่า “ฟังดูเหมือนคุณรู้สึกว่า…. หรือ คุณได้พูดแบบนี้ใช่ไหม หรือ ดูคล้ายกับว่า…  และใช้คำพูดที่แสดงถึงความรู้สึก ผู้นำการตอบสนอง เป็นผู้ชักนำให้เข้าเปลี่ยนความคิด ความเชื่อและพฤติกรรม และหนุนใจเขาตามสิ่งที่เขาเสนอแนะทั้งในด้านความคิด ความเชื่อ หรือพฤติกรรม ทั้งนี้มีวิธีการพูด 2 วิธี ได้แก่ การท้าชวน เช่น ทำไมไม่ลองทำดูหล่ะ หรือ การขู่ว่า “ถ้าคุณไม่ลองทำ ก็อาจไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง” และจะต้องมีวิธีการซักถามใช้เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มมากขึ้นซึ่งสามารถใช้ให้บ่อยเท่าที่จะทำได้เพื่อให้จดจ่ออยู่กับประเด็นที่สนทนากันและควรใช้คำถามปลายเปิดจะดีที่สุด  เมื่อต้องให้คำแนะนำ […]

ตัวอย่างการให้คำปรึกษาในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม

นาย สรพงษ์ ศรีบุญไทย                 การให้คำปรึกษาคืออะไร? ในหนังสือ “เจริญเติบโตขึ้น”   เขียนไว้ว่าการให้คำปรึกษามีความหมายง่ายๆ คือ การให้คำแนะนำ หมายถึงการช่วยเหลือ การนำ และการให้ทิศทางแก่บางคนเป็นการส่วนตัว  เป้าหมายของการให้คำปรึกษาประการแรกคือ ผู้รับการ ปรึกษาจะพบคำตอบในปัญหาของเขาและสิ่งที่พระเจ้าทรงปรารถนาให้เขาทำ หลังจากนั้นอย่างที่สอง คือเขาจะต้องทำจริงๆ ฉะนั้นในที่สุดผลของการให้คำปรึกษาคือ มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง (แซม โด เฮอร์ตี้, 2545, หน้า 151) การให้คำปรึกษา หรือ การให้คำแนะนำนั้นมีความสำคัญและมีความจำเป็นมาตั้งแต่ยุคสมัยอดีต เราพบว่ามีบันทึกไว้ว่าคนทั่วไป จนถึงชนชั้นผู้นำ ล้วนแล้วแต่ต้องการคำปรึกษา หรือต้องการมีที่ปรึกษา เพื่อคอยให้คำปรึกษาหรือแนะนำแนวทางต่างๆ ในพระคัมภีร์พบว่ามีบันทึกเรื่องเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาแนะนำเช่นกัน โดยมีความสำคัญก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่สำคัญๆ หลายครั้งในพระคัมภีร์ ในที่นี้ขอยกกรณีตัวอย่างจากพันธสัญญาเดิมในพระธรรมอพยพที่ได้บันทึกเรื่องราวของโมเสสผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกให้เป็นผู้นำชนชาติอิสราเอล ที่ปรึกษาเริ่มแรกของโมเสส คือ พระเจ้า บุคคลที่สอง คือ อาโรน พี่ชายของโมเสสที่พระเจ้าประทานให้เป็นผู้ช่วยและที่ปรึกษาคนสำคัญในการนำชนชาติอิสราเอลออกจากอียิปต์ บุคคลที่สาม คือ เยโธรพ่อตาผู้เป็นปุโรหิตของคนมีเดียน เรื่อง การแนะนำให้โมเสสแต่งตั้งทีมผู้พิพากษาช่วยโมเสสปกครองดูแลประชาชน โดยมีสาระสำคัญคือ ในพระธรรมอพยพ บทที่ […]